Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               31






                       ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (ปี 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี
                       จากปกติเฉลี่ย 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น  ควรมีการจัดการที่
                       เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                           - การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค

                           - การปรับปรุงบํารุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
                           - การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสม เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา
                           - การบํารุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ํายางสูง
                       มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน

                           - เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่
                       ที่มีความเหมาะสมสูง
                           - ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ
                       และสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                          2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 1,987 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอภักดีชุมพล อําเภอบําเหน็จณรงค์ และอําเภอบ้านเขว้า

                       เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ควรสนับสนุนและส่งเสริม
                       การจัดการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตรวมถึงด้านการตลาดด้วย ได้แก่
                           - ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา เน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะ
                       การปรับปรุงบํารุงดิน
                           - เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่

                       ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น
                           - ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิม
                           - พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจําหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยางหรือไม้ยางพารา
                       เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                           3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
                       ใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ มีประมาณ 5 หมื่นไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ําท่วมซ้ําซาก ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา

                       ควรใช้มาตรการการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชที่เหมาะสมกว่า หรือพืชทางเลือกและการทําเกษตร
                       แบบผสมผสาน โดยภาครัฐต้องให้การสนับสนุน เช่น
                           - ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริม
                       ให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสําปะหลัง ยาสูบ แตงโม พืชไร่ พืชผักต่างๆ ทดแทน เป็นต้น

                           - ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่
                       ผลิตพืชผักบริโภคในครัวเรือน หรือโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)
                       เป็นต้น
                           - จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                          4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่า เกษตรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43