Page 37 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
30
- ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุและระยะเวลาที่เหมาะสม
2) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมันสําปะหลังอยู่
มีเนื้อที่ 762,244 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอเทพสถิต อําเภอจัตุรัส และอําเภอบําเหน็จณรงค์
เกษตรกรยังคงปลูกมันสําปะหลังได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ควรสนับสนุนและ
ส่งเสริมการจัดการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ได้แก่
- พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดินและทําการตรวจวิเคราะห์
คุณภาพดินอยู่เสมอ
- ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด
- สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรค
แมลงศัตรูพืชและการเก็บเกี่ยว
- ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรคและให้ผลผลิตสูง
- พัฒนาระบบน้ําหยดและการใช้น้ําจากแหล่งน้ําในพื้นที่ ให้มีการใช้ประโยชน์กับมันสําปะหลัง
ให้มากที่สุด
- ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสําปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด
3) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสําปะหลังอยู่อยู่ มีประมาณ 1.6 แสนไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ําท่วมซ้ําซาก ขาดน้ํา
ผลผลิตต่ํา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการทํางานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุง
บํารุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทน
ที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning by Agri-Map) รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่ เพื่อให้เกษตรกรใช้
เป็นแนวทางในการตัดสินใจสําหรับการปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดใหม่
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว อ้อยโรงงาน ยางพารา
เป็นต้น ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการปรับปรุงบํารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม และสร้างแรงจูงใจ
ให้กลับมาปลูกมันสําปะหลัง เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ทําให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ําและผลผลิตมี
คุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
4.4 ยางพารา
1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่ 26 ไร่
อยู่ในเขตอําเภอเกษตรสมบูรณ์ อําเภอบ้านแท่น และอําเภอบ้านเขว้า ทั้งนี้โดยคณะคณะอนุกรรมการ
พัฒนาที่ดินจังหวัด ควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพดี
ที่สําคัญของจังหวัด และบริหารจัดการพื้นที่เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาด
ในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้าและการปฏิบัติ
ทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เพื่อให้สอดคล้องกับตามมาตรการของ