Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               28






                           3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกข้าว
                       อยู่มีประมาณ 8 แสนไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ําท่วมซ้ําซาก ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร
                       บูรณาการทํางานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกร
                       ที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบํารุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกร

                       เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภค
                       ในครัวเรือน หรือเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-Map)  รวมถึง
                       การสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่ เพื่อให้เกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
                       สําหรับการปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดใหม่

                          4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้

                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกอ้อยโรงงาน เนื่องจากเกษตรกรเป็นสมาชิก
                       ชาวไร่อ้อยของโรงงานน้ําตาลและได้ทําข้อตกลงซื้อขายผลผลิต เกษตรกรจึงมีความมั่นใจมากกว่า
                       การปลูกข้าว แต่ในอนาคตเกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวหรือทําการเกษตรแบบผสมผสานได้

                        4.2  อ้อยโรงงาน

                          1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 2,386 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอบ้านเขว้า อําเภอคอนสาร อําเภอบําเหน็จณรงค์ อําเภอ
                       เกษตรสมบูรณ์ และอําเภอจัตุรัส ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด ควรให้มีการเสนอ
                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตอ้อยโรงงานคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด ให้สอดคล้องกับ
                       แผนยุทธศาสตร์ของสํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ปี 2560 - 2564 ที่ส่งเสริม
                       สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมอ้อยน้ําตาลทราย

                       เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง
                           - ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง
                           - รณรงค์ลดการเผาตอซังก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปัญหาภาวะ

                       โลกร้อน
                           - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักร เพื่อลดปัญหาแรงงาน
                           - ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
                           - จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการปรับปรุงบํารุงดิน

                           - ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค

                          2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 771,324 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอภูเขียว อําเภอเกษตรสมบูรณ์ และอําเภอหนองบัวแดง
                       เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ําในบางช่วงของการเพาะปลูก
                       ควรสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ได้แก่

                           -  พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดินและการบริหารจัดการน้ํา
                       ให้มีเพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก
                           - สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา
                       และการเก็บเกี่ยว
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40