Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
- ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ําตาล และการนําของเสียจากโรงงานน้ําตาล
ไปใช้ในการปรับปรุงบํารุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรชาวไร่่อ้อย โดยไม่มี
ผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย
3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
ใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ มีประมาณ 1.6 แสนไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ําท่วมซ้ําซาก ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการทํางานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบํารุงดิน
สนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning by Agri-Map) รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่ เพื่อให้เกษตรกรใช้
เป็นแนวทางในการตัดสินใจสําหรับการปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดใหม่
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว ยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ภาครัฐ
ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปรับปรุงบํารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม และสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูก
อ้อยโรงงาน เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ทําให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ําและได้ผลผลิตมีคุณภาพดี
ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
4.3 มันสําปะหลัง
1) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสําปะหลังอยู่
มีเนื้อที่ 3,706 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอภักดีชุมพล อําเภอบําเหน็จณรงค์ อําเภอจัตุรัส อําเภอเมืองชัยภูมิ
อําเภอเกษตรสมบูรณ์ อําเภอบ้านแท่น และอําเภอคอนสาร ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด
ควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตมันสําปะหลังคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด
ให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์มันสําปะหลัง ปี 2564 - 2567 เน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์มันสําปะหลัง
ที่ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง (Cassava mosaic disease: CMD) ให้เชื้อแป้งสูง และมีผลผลิต
เฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ํากว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 เน้นการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง
ในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง
- ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย ท่อนพันธุ์คุณภาพดี ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
เพื่อเน้นการลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ ส่งเสริม
การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์และการปฏิบัติ
ทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)
- ส่งเสริมการทําระบบน้ําหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
- การปรับปรุงบํารุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- ทําการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ
- ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสําปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด
- สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร
(ขายและขุด)