Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               16






                            (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงาน
                       มีต้นทุนที่ต่ําและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                        2.3  มันสําปะหลัง
                           มันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดชัยภูมิในลําดับที่ 3 จากฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก

                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
                          1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง

                            ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 27,581 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของพื้นที่
                       ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอเกษตรสมบูรณ์ 9,608 ไร่ อําเภอภักดีชุมพล 7,727 ไร่ และอําเภอ
                       บ้านแท่น 5,392 ไร่

                            ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 3,124,533 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       59.94 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอเมืองชัยภูมิ 369,691 ไร่ อําเภอภูเขียว 308,915 ไร่
                       และอําเภอหนองบัวแดง 266,154 ไร่
                            ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 333,342 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.40
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอหนองบัวแดง 105,791 ไร่ อําเภอภักดีชุมพล 49,116 ไร่

                       และอําเภอเทพสถิต 42,786 ไร่
                            ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,726,981 ไร่

                          2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในปัจจุบัน ซึ่งจําแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
                       ที่ดิน ได้ดังนี้

                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1)  มีเนื้อที่ 3,706 ไร่ คิดเป็นร้อยละ13.44 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       พบมากในอําเภอภักดีชุมพล 3,128 ไร่ อําเภอบําเหน็จณรงค์ 273 ไร่ และอําเภอจัตุรัส 185 ไร่
                           (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 762,244 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24.40 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากในอําเภอเทพสถิต 169,379 ไร่ อําเภอจัตุรัส 121,672 ไร่ และอําเภอบําเหน็จณรงค์

                       97,081 ไร่
                           (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 148,322 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.50 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอําเภอเทพสถิต 33,378 ไร่ อําเภอหนองบัวระเหว 25,706 ไร่ และอําเภอ
                       ภักดีชุมพล 21,719 ไร่

                           (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 10,915 ไร่ ไร่

                          3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมันสําปะหลังแต่ยังไม่ใช้พื้นที่
                       ปลูกมันสําปะหลัง พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสําหรับการปลูกมันสําปะหลังและพื้นที่
                       ปลูกมันสําปะหลังในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดชัยภูมิมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือ
                       ในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 2,386,164 ไร่ กระจายอยู่

                       ทั่วทุกอําเภอ โดยอําเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อําเภอเมืองชัยภูมิ 329,336 ไร่
                       รองลงมา ได้แก่ อําเภอภูเขียว 307,016 ไร่ อําเภอเกษตรสมบูรณ์ 269,495 ไร่ อําเภอหนองบัวแดง
                       245,210 ไร่ ตามลําดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28