Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               21






                             พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
                       มันสําปะหลังในที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสําปะหลัง เช่น ความอุดมสมบูรณ์
                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอําเภอเทพสถิต อําเภอจัตุรัส อําเภอบําเหน็จณรงค์
                       เป็นต้น

                           (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
                       มันสําปะหลัง มีต้นทุนที่ต่ําและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                        2.4  ยางพารา
                           ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดชัยภูมิในลําดับที่ 4 จากฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)


                          1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                              ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 35,706 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของพื้นที่
                       ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอเกษตรสมบูรณ์ 13,682 ไร่ อําเภอบ้านเขว้า 7,693 ไร่ และอําเภอ
                       บ้านแท่น 5,393 ไร่
                              ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 85,708 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.64

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอภักดีชุมพล 36,484 ไร่ อําเภอบําเหน็จณรงค์ 18,964 ไร่
                       และอําเภอจัตุรัส 12,849 ไร่
                            ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,608,051 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       69.22 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอหนองบัวแดง 441,680 ไร่ อําเภอเมืองชัยภูมิ 363,695 ไร่
                       และอําเภอเทพสถิต 324,116 ไร่
                            ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,483,097 ไร่

                          2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจําแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้

                           (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 26 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบใน
                       อําเภอเกษตรสมบูรณ์ 13 ไร่ อําเภอบ้านแท่น 9 ไร่ และอําเภอบ้านเขว้า 4 ไร่
                           (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,987 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.32 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       ปานกลาง พบมากในอําเภอภักดีชุมพล 1,588 ไร่ อําเภอบําเหน็จณรงค์ 81 ไร่ และอําเภอบ้านเขว้า

                       79 ไร่
                           (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 46,746 ไร่ คิดเป็นร้อยละ1.30 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       เล็กน้อย พบมากในอําเภอเกษตรสมบูรณ์ 9,934 ไร่อําเภอเทพสถิต 8,841 ไร่ และอําเภอหนองบัวแดง

                       5,226 ไร่
                           (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,289 ไร่

                          3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       ยางพารา พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสําหรับการปลูกยางพาราและพื้นที่ปลูกยางพาราใน
                       ชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดชัยภูมิมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33