Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
ตารางที่ 6 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตอ้อยโรงงาน
ข้าว (ไร่) ยางพารา (ไร่)
อําเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เมืองชัยภูมิ 68,751 9,749 78,500 3,614 - 3,614
เกษตรสมบูรณ์ 55,047 740 55,787 5,178 - 5,178
เทพสถิต 8,225 1,812 10,037 6,264 - 6,264
เนินสง่า 21,534 674 22,208 203 - 203
แก้งคร้อ 70,707 29 70,736 807 - 807
คอนสวรรค์ 21,237 2,868 24,105 429 - 429
คอนสาร 20,412 51 20,463 2,517 - 25,17
จัตุรัส 34,505 449 34,954 107 - 107
ซับใหญ่ 4,420 752 5172 323 - 323
บ้านเขว้า 12,781 1,012 13,793 646 - 646
บ้านแท่น 39,628 55 39,683 928 - 928
บําเหน็จณรงค์ 10,744 113 10,857 2,223 - 2,223
ภักดีชุมพล 8,374 644 9018 1,044 - 1,044
ภูเขียว 42,441 131 42,572 1,838 - 1,838
หนองบัวแดง 65,377 1,114 66,491 3,586 - 3,586
หนองบัวระเหว 5,472 1,120 6,592 1,522 - 1,522
รวม 489,655 21,313 510,968 31,229 - 31,229
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอดโครงการ
ที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน
ที่สําคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอําเภอบ้านเขว้า อําเภอคอนสาร อําเภอบําเหน็จณรงค์ อําเภอ
เกษตรสมบูรณ์ และอําเภอจัตุรัส
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ในที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงาน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอําเภอภูเขียว อําเภอเกษตรสมบูรณ์ อําเภอหนองบัวแดง
เป็นต้น