Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชัยภูมิ
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอดโครงการที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น
เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญของจังหวัด โดยกระจาย
อยู่ในอําเภอบําเหน็จณรงค์ อําเภอเกษตรสมบูรณ์ อําเภอจัตุรัส เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดิน
ที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
และแหล่งน้ํา โดยกระจายอยู่ในอําเภอเมืองชัยภูมิ อําเภอคอนสวรรค์ อําเภอหนองบัวแดง เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทําการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.2 อ้อยโรงงาน
อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดชัยภูมิในลําดับที่ 2 จากฐานข้อมูลแผนที่เกษตร
เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 22,264 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของพื้นที่
ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอบ้านเขว้า 7,693 ไร่ อําเภอเกษตรสมบูรณ์ 5,679 ไร่ และอําเภอ
บําเหน็จณรงค์ 3,511 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,987,117 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
57.31 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอภูเขียว 320,366 ไร่ อําเภอเมืองชัยภูมิ 299,376 ไร่
และอําเภอหนองบัวแดง 274,762 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 491,015 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.42
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอําเภอหนองบัวแดง 114,016 ไร่ อําเภอภักดีชุมพล 49,420 ไร่
และอําเภอเทพสถิต 38,566 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,711,598 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจําแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 2,386 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.72 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
พบในอําเภอบ้านเขว้า 1,367 ไร่ อําเภอคอนสาร 542 ไร่ อําเภอบําเหน็จณรงค์ 229 ไร่ อําเภอเกษตรสมบูรณ์
138 ไร่ และอําเภอจัตุรัส 110 ไร่