Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดแพร่
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1. ขอมูลทั่วไป
จังหวัดแพร มีพื้นที่ประมาณ 6,538.598 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,086,624 ไร ตั้งอยูในภาคเหนือของ
ประเทศไทย ประกอบดวย 8 อําเภอ 78 ตําบล (ตารางผนวกที่ 1) มีประชากร 469,356 คน
(กรมการปกครอง, 2563)
1.1 อาณาเขตติดตอ
ทิศเหนือ ติดตอ จังหวัดลําปาง จังหวัดนาน และจังหวัดพะเยา
ทิศใต ติดตอ จังหวัดอุตรดิตถ และจังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก ติดตอ จังหวัดนาน และจังหวัดอุตรดิตถ
ทิศตะวันตก ติดตอ จังหวัดลําปาง
1.2 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดแพร พื้นที่ลอมรอบดวยภูเขาทั้ง 4 ทิศ พื้นที่สวนใหญเปนภูเขา
มีพื้นที่ราบโดยลาดเอียงไปทางทิศใตตามแนวไหลของแมน้ํายมคลายกนกระทะ มีลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้
1) พื้นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด บริเวณตอนกลางและทางดานทิศตะวันตกเฉียงใตของจังหวัดมี
แมน้ํายมไหลผาน สวนใหญใชทํานาขาว และปลูกพืชไร มีระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 140 -200 เมตร
จากระดับทะเลปานกลาง
2) พื้นที่ลาดชันถึงเนินเขา สวนใหญเปนพื้นที่รกรางและสวนปา บางบริเวณใชปลูกพืชไร
มีระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 160-300 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
3) พื้นที่ภูเขาสลับซับซอน สวนใหญยังเปนปาไมสมบูรณ และมีไมสักมากที่สุดในประเทศไทย
มีความสูงของพื้นที่ประมาณ 200-1,650 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดแพร เปนภูมิภาคแบบฝนตกชุกสลับแลงในเขตรอน มีอุณหภูมิ
สูงสุดเฉลี่ย 39.2 องศาเซลเซียส และมี 3 ฤดู คือ ฤดูรอน เริ่มตั้งแตกลางเดือนกุมภาพันธ ถึง
กลางเดือนพฤษภาคม อากาศรอนอบอาวทั่วไป โดยเฉพาะในเดือนเมษายนเปนเดือนที่มีอากาศรอน
มากที่สุด ฤดูฝน เริ่มตั้งแตกลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเปนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต
อากาศจะชุมชื้นและมีฝนตกชุกในชวงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมและ
เดือนสิงหาคม เปนเดือนที่ฝนตกมากที่สุดในรอบป และฤดูหนาว เริ่มตั้งแตกลางเดือนตุลาคมถึง
กลางเดือนกุมภาพันธ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแหงแลง ในตอนเชาจะมีหมอกหนาปกคลุมทั่วไป
โดยจะมีอุณหภูมิต่ําสุดเฉลี่ย 19.0 องศาเซลเซียส
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินจังหวัดแพร แบงตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา วัตถุตนกําเนิดดิน
สภาพพื้นที่ที่พบ ไดดังนี้
1) ที่ราบน้ําทวมถึง (Flood plain) เปนที่ไดรับอิทธิพลของแมน้ํา/ลําน้ําสาขา
วัตถุตนกําเนิดดินเปนตะกอนน้ําพา (Alluvium) สภาพพื้นที่คอนขางราบเรียบถึงราบเรียบ ในหนาฝน
หรือหนาน้ําหลากมักมีน้ําทวมและมีการทับถมของตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ําทวม ประกอบดวย