Page 15 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
(Gyaneshwar et al., 2001), Herbaspirillumseropedicae และ Burkholderia spp. (Baldani et
al.,2001) สงผลใหน้ําหนักของผลผลิตของขาวเพิ่มขึ้นมากกวาตํารับควบคุม และมีการพบ
Pantoeaagglomerans YS19 สามารถตรึงไนโตรเจนในอาหาร N free medium และผลิตฮอรโมน
พืช (ออกซิน กรดแอบไซซิก จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน) สงเสริมการเจริญเติบโตของพืชอาศัยได (Feng,
2006) นอกจากนี้ยังมีการใชเอนโดไฟติกแบคทีเรียเพื่อยับยั้งจุลินทรียสาเหตุโรคในขาวและพืชอื่นๆ
(Mukhopadhyay et al., 1996; Padgham et al., 2005)
พันธุขาวไวตอชวงแสง เปนพันธุขาวที่ตองการชวงแสงหรือชวงระยะกลางวันสั้น เพื่อ
เปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลําตนและใบมาเปนการเจริญทางสืบพันธุ เพื่อสรางชอดอกและเมล็ด
พันธุขาวชนิดนี้จะกําเนิดชอดอกเมื่อมีชวงแสงสั้นกวา 12 ชั่วโมง ความตองการชวงแสงของขาวแตละ
พันธุแตกตางกัน ทําใหขาวออกดอกไมพรอมกัน พันธุขาวไวตอชวงแสงมีตนสูง มีการแตกกอนอย การ
ตอบสนองตอปุยโดยเฉพาะปุยไนโตรเจนต่ํา ใหผลผลิตสูงสุดไดต่ํา และมีการตานทานตอโรคและแมลง
นอย (อรพิน, 2547)
ขาวสังขหยด เปนขาวพันธุพื้นเมืองในภาคใต เก็บจากอําเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ดังนั้นจึงเปนพันธุขาวพื้นเมืองที่ปลูกกันมานานไมต่ํากวา 50 ป และปจจุบันยังคงมีปลูกอยูทั่วไปใน
จังหวัดพัทลุง และบางจังหวัดใกลเคียง ในป พ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจาฯพระบรมราชินีนาถ ทรง
มีพระราชดํารัสตั้งโครงการฟารมตัวอยางตามพระราชดําริจังหวัดพัทลุง ขึ้นที่อําเภอบางแกว โดยมี
สถานีพัฒนาที่ดินพัทลุงเปนเลขานุการคณะทํางานศูนยวิจัยขาวพัทลุง ซึ่งไดรับมอบหมายใหรับผิดชอบ
แปลงนาในโครงการฯ จึงไดดําเนินการปลูกขาวพันธุพื้นเมืองตางๆ ไดแก พันธุขาวสังขหยด พันธุหัวนา
พันธุหอมจันทร และพันธุนางพญา 132 ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 ศูนยวิจัยขาวพัทลุง ไดมี
โอกาสถวายขาวสังขหยดแดสมเด็จพระนางเจาฯพระบรมราชินีนาถ ซึ่งตอมาพระองคทรงโปรดที่จะ
เสวยตลอดมา และศูนยวิจัยขาวพัทลุง ไดปลูกพันธุขาวสังขหยดในแปลงนาโครงการฯ ตลอดมาทุกป
ตอมาจังหวัดพัทลุงไดกําหนดใหพันธุขาวสังขหยดเปนพันธุขาวประจําจังหวัด มีเปาหมายสงเสริมการ
ผลิต เพื่อเปนเอกลักษณของจังหวัดตลอดไป
ขาวพันธุสังขหยด มีลักษณะแตกตางจากขาวโดยทั่วๆ ไป คือ มีลักษณะของขาวสารหรือ
ขาวกลองที่เยื่อหุมเมล็ดมีสีขาวปนสีแดงจางๆ จนถึงแดงเขมในเมล็ดเดียวกัน และขาวเมื่อหุงสุกแลวมี
ลักษณะนิ่มมากคอนขางเหนียว ลักษณะเดน เปนพันธุขาวที่มีลักษณะเยื่อหุมเมล็ดสีแดงเขม เมล็ดเล็ก
เรียว เมื่อหุงเปนขาวสุกมีความนุมรสชาติมันอรอย โดยเฉพาะในลักษณะขาวซอมมือ หรือขาวกลองที่
ขัดสีปานกลาง คุณคาทางโภชนาการ มีสารอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับขาวเล็บนกปตตานี ที่สูงกวา
ไดแก โปรตีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ฟอสฟอรัส และโดยเฉพาะไนอาซิน ซึ่งสูงกวาอยางชัดเจนโดย
มีมากกวา 66 เปอรเซ็นต สวนสารอาหารอื่น ไดแก ไขมัน กากเยื่อใย เถา และเหล็ก ก็มีปริมาณ
คอนขางสูง พื้นที่แนะนํา คือพื้นที่นาดอนที่ปลูกขาวนาป จังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกลเคียง ขอควร
ระวังหรือหรือขอจํากัด ไมตานทานโรคไหม (ศูนยวิจัยขาว,2548)