Page 27 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ระหว่างปี 2561-
2563
จากการทดลองพบว่า ที่ระยะแตกกอ และที่ระยะกำเนิดช่อดอก การใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบต่างๆ ไม่มีอิทธิพล
อย่างเด่นชัดต่อความสูงของข้าวที่ระยะดังกล่าว สังเกตได้จากการใส่ปุ๋ยชีวภาพ และการใส่ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี และ
การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ความสูงไม่มีความแตกต่างกัน แต่ถ้าเทียบกับไม่มีการใส่ปุ๋ย (ควบคุม) พบว่ามีอิทธิพลอย่าง
เด่นชัดต่อความสูงของข้าวในระยะดังกล่าว ที่ระยะออกดอก และระยะเก็บเกี่ยว พบว่า ในปีแรกของการทดลอง การใส่
ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวมีผลต่อความสูงมากที่สุด แต่ในการทดลองปีที่ 2 และ 3 กับพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
กับการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้ความสูงไม่แตกต่างกัน การเจริญเติบโตด้านการแตกกอ พบว่าการใส่ปุ๋ย
ชีวภาพ กับการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) มีผลต่อการแตกกอที่แตกต่างกัน แต่ในการทดลองปีที่ 2 และ3 อาจจะมีผลไม่แตกต่าง
กันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยชีวภาพมีแนวโน้มการแตกกอที่สูงกว่า การไม่ใส่ปุ๋ย และในด้านปริมาณจำนวนรวงต่อกอ พบว่า
ในปีแรกของการทดลอง การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวมีผลต่อปริมาณจำนวนรวงมากที่สุด แต่ในการทดลองปีที่ 2 อาจจะ
ไม่มีผลแตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยชีวภาพมีแนวโน้มทำให้ปริมาณจำนวนรวงสูงกว่า การไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) และใน
การทดลองปีที่ 3 พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ำร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 70 เปอร์เซ็นต์ และการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง
ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณจำนวนรวงสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเพียงอย่างเดียว และการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม)
ทั้งนี้เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ มีสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้รากข้าวแตกแขนงมาก
สามารถดูดธาตุอาหารได้มากขึ้นซึ่งส่งผลให้ข้าวมีความสูง และจำนวนการแตกกอของข้าวเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับ
การศึกษาของ Riggs, et al. (2001) ซึ่งได้ทำการใส่ Herbaspirillum seropedicae กับเมล็ดข้าวโพดที่ปลูกในโรงเรือน
ทดลอง พบว่าแบคทีเรียที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ผลผลิตเพิ่มขึ้น 49-82% ส่วนไม่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 16% ซึ่งเอน
โดไฟติกแบคทีเรียอาจเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยในการทำให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์มากขึ้น เช่นเดียวกันกับการศึกษาของ
จักรพล และอรรจนา (2554) ได้ศึกษาเอนโดไฟติกแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการผลิตสารคล้าย IAA มาใช้เพื่อเพิ่มการ
เจริญเติบโตของข้าวอินทรีย์ ที่ปลูกในท่อซีเมนต์ พบว่าต้นข้าวมีการแตกกอสูงกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ และในสภาพแปลงนาพ่นแบคทีเรียให้กับต้นกล้าข้าวในวันที่ปักดำนา และ 14 วันหลังดำนา พบว่าต้นข้าว
เจริญเติบโตได้ดีขึ้น และผลผลิตเพิ่มขึ้น และการศึกษาของ ชนิกานต์ (2544) ที่ทำการศึกษาใส่ Azospirillum sp. CM15
และ Azospirillum sp. CM44 ทำให้ข้าวมีความสูง นำหนักแห้งของลำต้นและของรากมากที่สุด และแบคทีเรียทั้ง 2 สาย
พันธุ์ ยังสามารถเพิ่มจำนวนกอของข้าวที่ปลูกในดินได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระยะ 45 และ75 วัน หลังย้ายปลูก
3. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ระหว่างปี 2561- 2563
จากการทดลอง การใส่ปุ๋ยชีวภาพต่อปริมาณผลผลิตร้อยละของเมล็ดดี จะเห็นได้ว่าในปีแรกของการทดลองการ
ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตร้อยละของเมล็ดดี มากที่สุด แต่ก็ไม่มีความแตกต่างจากการใส่ปุ๋ย
ชีวภาพรูปแบบน้ำ และรูปแบบผงเพียงอย่างเดียว และการการใส่ปุ๋ยชีวภาพทั้ง 2 รูปแบบร่วมกับการใส่ปู่ยเคมี 50
เปอร์เซ็นต์ แต่จะแตกต่างจากการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) อย่างเห็นได้ชัดเจน และในปี 2562 และ 2563 พบว่าการใส่ปุ๋ย
ชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์จะส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตร้อยละเมล็ดดีสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ
93.40 และ 93.14 ตามลำดับ ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวงพบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ำ และรูปแบบผงเพียงอย่างเดียว
และการใส่ปุ๋ยชีวภาพทั้งรูปแบบน้ำ และรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ และการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวนั้น