Page 28 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   มีจำนวนเมล็ดต่อรวงไม่ต่างกัน แต่จะมีจำนวนเมล็ดต่อรวงต่างจากการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) และจะเห็นได้อย่างชัดเจนในปี

                   2563 ที่การใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ จะส่งผลให้มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากที่สุด เท่ากับ
                   182.33 เมล็ดต่อรวง และประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพที่ส่งผลต่อปรมาณผลผลิตข้าว พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง

                   ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น และไม่มีความแตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่าง
                   เดียว ซึ่งในปีแรกของการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีจะให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 403.20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็ไม่มี

                   ความแตกต่างจากการใส่ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี50 เปอร์เซ็นต์ และปี 2562 ก็พบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับ
                   ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 870.93 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็ไม่มีความแตกต่างจากกรรมวิธีที่มี
                   การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว และปุ๋ยชีวภาพรูปแบบน้ำร่วมกับปุ๋ยเคมี50 เปอร์เซ็นต์ แต่การใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผง

                   ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ปริมาณผลผลิตจะแตกต่างอย่างชัดเจนกับการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) และในปี 2563 พบว่าใส่
                   ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ให้ปริมาณผลผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 814.40 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็ไม่มี

                   ความแตกต่างจากกรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว และการใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบต่างๆร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี แต่
                   การใส่ปุ๋ยชีวภาพรูปแบบผงร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ปริมาณผลผลิตจะแตกต่างอย่างชัดเจนกับการไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม)
                   ทั้งนี้เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ มีสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้รากข้าวแตกแขนงมาก

                   สามารถดูดธาตุอาหารได้มากขึ้นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้น และถ้ามีการใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ก็จะ
                   ส่งเสริมให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ Martin, et al. (2002) ซึ่งได้ทำการใส่ Azospirillum

                   brasilense กับต้นข้าวสาลี พบว่าต้นข้าวสาลีที่ใส่ Azospirillum brasilense ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวสาลีที่ไม่มีการใส่
                   แบคทีเรีย เนื่องจาก Azospirillum brasilense จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดธาตุอาหารของรากมากขึ้น และการศึกษา

                   ของจักรพล และอรรจนา (2554) ได้ศึกษาเอนโดไฟติกแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการผลิตสารคล้าย IAA มาใช้เพื่อเพิ่มการ
                   เจริญเติบโตของข้าวอินทรีย์ ในสภาพแปลงนาเมื่อพ่นแบคทีเรียให้กับต้นกล้าข้าวในวันที่ปักดำนา และ 14 วันหลังดำนา

                   พบว่าต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและผลผลิตเพิ่มขึ้น
                          การศึกษาในครั้งนี้ พบว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียวก็สามารถส่งเสริมการเจริญเติบ และให้ผลผลิตข้าว
                   เพิ่มขึ้น ควรทำการศึกษาร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อการผลิตข้าวในระบบอินทรีย์ได้


                                                          ประโยชน์ที่ได้รับ

                       1.  การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้สูงขึ้น
                       2.  การใช้ปุ๋ยชีวภาพสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33