Page 26 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดสุรินทร์ Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Khao Dawk Mali 105) yield inSandy Loam soil, Surin Province.
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 14 ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพที่มีผลต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105
ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อไร่)
ตำรับการทดลอง
ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563
F
B
B
T1 248.53 611.73 489.60
A
AB
A
T2 403.20 859.20 603.73
EF
AB
AB
T3 263.11 682.13 744.00
AB
AB
B
T4 351.64 778.67 746.67
A
AB
T5 328.54 853.33 607.47
C
D
AB
AB
T6 287.29 698.67 571.73
A
A
A
T7 386.13 870.93 814.40
B
DE
AB
T8 270.58 621.87 744.00
ค่าเฉลี่ย 317.38 747.07 648.60
F-test * * *
CV % 3.78 16.34 24.87
หมายเหตุ : T = ตำรับการทดลองที่…n, * = มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
1. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพต่อคุณสมบัติทางเคมีดิน ในแปลงนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ระหว่าง
ปี 2561- 2563
สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินทุกตำรับการทดลองมีความเป็น
-1
กรด-ด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (6.0 – 7.3) ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 0.04-0.26 ds m แสดงว่ามีค่าการ
นำไฟฟ้าต่ำมาก ปริมาณอินทรีย์วัตถุทุกตำรับการทดลองมีปริมาณอินทรียวัตถุมีปริมาณต่ำจนถึงปานกลาง (1.49-1.83
เปอร์เซ็นต์) ปริมาณไนโตรเจนทุกตำรับการทดลองมีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในระดับปานกลาง (0.07-0.09 เปอร์เซ็นต์)
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ำถึงสูงมาก (6.75-38.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และปริมาณโพแทสเซียมที่
แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (60.50-103.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) สมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง
พบว่าทุกตำรับการทดลองมีความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกลาง (6.15 – 6.50) ค่าการนำไฟฟ้าพบว่าอยู่ในช่วง 1.78-
-1
2.88 ds m แสดงว่ามีค่าการนำไฟฟ้าต่ำมาก ปริมาณอินทรีย์วัตถุพบว่าทุกตำรับการทดลองมีปริมาณอินทรียวัตถุมี
ปริมาณปานกลาง (2.07-2.42 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณไนโตรเจนพบว่าทุกตำรับการทดลองมีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในระดับสูง
(0.12-0.17 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์พบว่าดินในทุกตำรับการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์อยู่ในระดับต่ำถึงสูงมาก (4.32-34.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำ
ถึงปานกลาง (32.26-66.45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง (613-
1566 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ำ (44-115 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) แต่การใส่ปุ๋ย
ชีวภาพก็มีแนวโน้มทำให้คุณสมบัติทางเคมีบางประการสูงขึ้นในการทดลองปีที่ 2 และ 3 ทั้งนี้การศึกษาปุ๋ยชีวภาพต่อ
คุณสมบัติทางเคมีดินก็ยังไม่เห็นความแตกต่างกันชัดเจน ต้องใช้เวลาในการทดลองเป็นเวลานาน เนื่องจากคุณสมบัติของ
ดินมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างช้า ต้องใช้เวลาที่ยาวนาน สอดคล้องกับการศึกษาของ ศิริภา และคะนึงกิจ (2542) จาก
การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกาพภาพของดินที่โครงการวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสรางสวนปา เมื่อเวลาผานไป 10 ป
พบวาดินมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างชัดเจน