Page 5 - การประเมินคุณภาพดินเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ทางการเกษตรที่มีอัตราการชะล้างพังทลายสูงโดยใช้เทคนิคนิวเคลียร์ จังหวัดกาญจนบุรี Assessing soil quality and enhance crop productivity through agriculture management using nuclear techniques in the area of erosion in Kanchanaburi province.
P. 5
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
บทคัดยอภาษาไทย (Abstract-Thai)
การประเมินคุณภาพดินเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่เกษตรกรรม และการประเมินการชะลาง
210
พังทลายของดินโดยใชเทคนิคนิวเคลียรไอโซโทป ในการวัดอัตราการเคลื่อนยายของดินจากธาตุตะกั่ว 210 ( Pbex
inventories) ซึ่งไดทําการศึกษา ณ ตําบลปลังเผล อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแตเดือนเมษายน ถึง เดือน
สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยเก็บขอมูลในพื้นที่ปลูกพืชทั่วไป พื้นที่ปายางพารา และพื้นที่จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา จํานวน
5 ประเภทความลาดชัน และเก็บตัวอยางดินที่ 3 ระดับความลึก
ผลการศึกษาพบวา ความแตกตางกันของพื้นที่ศึกษา ระดับความลาดชัน ระดับความลึก และชวงเวลาการเก็บ
ขอมูล มีผลตอสมบัติทางเคมีของดิน กลาวคือ พื้นที่จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา มีปริมาณ pH (5.75) EC (0.040 dS/m)
OM (3.09%) Mg (76.54 mg/kg) และ Ca (1,436.06 mg/kg) สูงที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ปาและไมผลที่ไมรบกวนหนา
ดิน (pH เทากับ 5.08; EC เทากับ 0.016 dS/m; OM เทากับ 3.05%; Mg เทากับ 49.29 mg/kg; และ Ca เทากับ
324.18 mg/kg) และพื้นที่ปลูกพืชทั่วไป (pH เทากับ 5.06; EC เทากับ 0.021 dS/m; OM เทากับ 2.41%; Mg เทากับ
30.46 mg/kg; และ Ca เทากับ 292.64 mg/kg) ในขณะที่ปริมาณ P และ K พบวามีคาสูงที่สุดในพื้นที่ปาและไมผลที่ไม
รบกวนหนาดิน (P เทากับ 2.795 mg/kg; K เทากับ 148.12 mg/kg) รองลงมาคือพื้นที่จัดระบบอนุรักษดินและน้ํา (P
เทากับ 2.700 mg/kg; K เทากับ 121.88 mg/kg) และพื้นที่ปลูกพืชทั่วไป (P เทากับ 2.695 mg/kg; K เทากับ 94.96
mg/kg) ตามลําดับ ชวงเวลาของการเก็บขอมูลและปริมาณน้ําฝนมีผลตอการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน (EC P K
Ca และ Mg) โดยไดเก็บตัวอยางดินทั้งหมด 3 ครั้ง ในเดือนเมษายน (ปริมาณน้ําฝน 11 มม.) มิถุนายน (ปริมาณน้ําฝน
201.5 มม.) และสิงหาคม (ปริมาณน้ําฝน 544.3 มม.) ซึ่งเรียงลําดับคาเฉลี่ยรายเดือนได ดังนี้ EC เทากับ 0.032, 0.022,
และ 0.023 dS/m; P เทากับ 3.801, 3.759, และ 0.631 mg/kg; K เทากับ 139.84, 105.67, และ119.47 mg/kg; Ca
เทากับ 777.90, 644.95, และ 677.36 mg/kg; และ Mg เทากับ 74.45, 39.97, 41.88 mg/kg นอกจากนี้ชวงเวลาการ
เก็บขอมูลทั้ง 3 ครั้งสงผลตอสมบัติทางเคมีของดินในระดับความลาดชันตาง ๆ โดยพบวาปริมาณ EC, OM, และ P มีการ
เคลื่อนที่จากที่สูงลงสูที่ต่ําใรอัตราที่ไมเทากันในแตละพื้นที่ศึกษา กลาวคือ พื้นที่ปลูกพืชทั่วไป พบปริมาณ EC, OM, และ
P สะสมมากที่สุด ณ บริเวณ Toesope และ Footslope เมื่อมีน้ําฝนเปนตัวเรง ในขณะที่พื้นที่ปาและไมผลที่ไมรบกวน
หนาดินและพื้นที่จัดระบบอนุรักษ พบปริมาณ EC, OM, และ P สะสมมากที่สุด ณ บริเวณ Backslope และ Shoulder
นอกจากนี้ปริมาณน้ําฝนมีผลตอสมบัติทางเคมีของดินที่สะสมในแตละระดับความลึก กลาวคือ ปริมาณ EC, OM, K, Mg,
และ Ca พบมากที่สุดที่ระดับความลึก 0-10 ซม. ในเดือนเมษายน แตเมื่อมีปริมาณน้ําฝนเพิ่มมากขึ้นในเดือนมิถุนายน
และสิงหาคม ทําใหเกิดการชะลางพัดพาลงสูชั้นดินลางมากขึ้น โดยเฉพาะที่ระดับความลึก 10-20 ซม.
210
ปริมาณความแรงรังสี ( Pbex) และอัตราการเคลื่อนยายของดิน (SRD) มีความแตกตางกันในแตละพื้นที่
ศึกษา ระดับความลาดชัน ระดับความลึก และชวงเวลาการเก็บขอมูล โดยพบวา พื้นที่จัดระบบอนุรักษ มีคาเฉลี่ย
210 Pbex สูงที่สุด (25.11 Bq/kg) รองลงมาคือ พื้นที่ปาและไมผลที่ไมรบกวนหนาดิน (24.08 Bq/kg) และพื้นที่ปลูกพืช
210
ทั่วไป (21.58 Bq/kg) ตามลําดับ โดยปริมาณ Pbex พบวามีคาสูงสุดที่ระดับความลึก 0-10 เซนติเมตร เมื่อ
210
เปรียบเทียบกับชวงเวลาการเก็บขอมูล ปริมาณ Pbex มีคาเพิ่มขึ้นเมื่อเขาสูชวงฤดูฝน ในขณะที่ที่คา SRD พบวาพื้นที่
จัดระบบอนุรักษมีอัตรา SRD เฉลี่ยมีแนวโนมไปที่การทับถมของดิน เทากับ 8.648 t/ha/yr พื้นที่ปาและไมผลที่ไม
รบกวนหนาดินมีอัตรา SRD เฉลี่ยมีแนวโนมไปที่การทับถมของดิน เทากับ 2.992 t/ha/yr และพื้นที่ปลูกพืชทั่วไปมีอัตรา
SRD เฉลี่ยมีแนวโนมไปที่การชะลางพังทลายของดิน เทากับ -1,830 t/ha/yr โดยพบวาพื้นที่จัดระบบอนุรักษและพื้นที่
ปาและไมผลที่ไมรบกวนหนาดิน ซึ่งเปนพืชที่ที่มีสิ่งปกคุลมหนาดินสูงพบทับถมของตะกอนดินในระดับความลาดชันที่
เหนือขึ้นไปของพื้นที่ศึกษา (บริเวณ Backslope ขึ้นไป) ในขณะที่พื้นที่ปลูกพืชทั่วไปมีอัตราการชะลางพังทลายของดินที่
สูงในทุกระดับความลาดชัน และมีการทับถมของตะกอนดิน ณ บริเวณที่ต่ําที่สุดของพื้นที่ศึกษา
คําสําคัญ : คุณภาพดิน ระบบอนุรักษดินและน้ํา การชะลางพังทลายของดิน ไอโซโทป