Page 7 - ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่ Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                   ทะเบียนวิจัยเลขที่    59-63-02-11-020000-009-108-01-13

                   ชื่อโครงการวิจัย     ต้นแบบอนุรักษ์ดินและน้ำจังหวัดเชียงใหม่
                                        Soil and Water Conservation Model in Chiang Mai Province

                   กลุ่มชุดดิน           -

                   สถานที่ดำเนินการ      ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก  จังหวัดเชียงใหม่
                   ผู้ร่วมดำเนินการ      นายยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธุ์   Mr.Yuthasart Anuluxtipun

                                         นายพงศ์ธร เพียรพิทักษ์      Mr.Phongthorn Phianphitak

                                         นางสาวสมจินต์ วานิชเสถียร   MissSomjin Wanichsathian
                                         นางสาววิชิตา อินทรศรี       MissWichita Intharasri

                                         นายธนัญชย์ ดำขำ             Mr.Thanun Dumkhum
                                         นายณรงค์เดช ฮองกูล          Mr.Narongdech Hongkul




                                                            บทคัดย่อ


                          การศึกษานี้ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

                   ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบการสูญเสียดินที่
                   เกิดขึ้นในพื้นที่ ประเมินผลกระทบของมาตรการในการจัดการลุ่มน้ำที่มีผลต่อทรัพยากรดิน ตลอดจนส่งเสริมให้มี

                   การใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยวางแปลงศึกษาขนาด 4 x 22 เมตร ที่ความลาดชัน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ

                   9-10, 20-25 และ 30-35 เปอร์เซ็นต์ ทั้งสองพื้นที่ลุ่มน้ำ จำนวน 6 แปลงศึกษาต่อหนึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำ บนพื้นที่ที่มี
                   การใช้ประโยชน์ที่ดินแตกต่างกันไป พบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยและลุ่มน้ำห้วยลึก มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงที่สุด

                   ในช่วงปี 2560 คิดเป็น 5,297.60 มิลลิเมตร และในช่วงปี 2563 มีปริมาณน้ำฝนสะสมต่ำที่สุดคิดเป็น 1,085.60

                   มิลลิเมตร


                          ผลการประเมินการสูญเสียดินของการศึกษาการชะล้างพังทลายดินจากปริมาณตะกอนในบ่อดักตะกอน
                   พบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึกเกิดการสูญเสียดินมากกว่าพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย ตลอดระยะเวลาห้าปีพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึก

                   เกิดการสูญเสียดินสะสมจากการชั่งน้ำหนักดินในบ่อดักตะกอน 2,357.87 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็นอัตราการ

                   สูญเสีย 0.79 ตันต่อไร่ต่อปี และพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอยเกิดการสูญเสียดินสะสมจากการชั่งน้ำหนักดินในบ่อดัก
                   ตะกอน 1,912.68 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคิดเป็นอัตราการสูญเสีย 0.64 ตันต่อไร่ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้

                   ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างจะพบว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบการปลูกพืชผัก (ECM06) เกิดการสูญเสียดินสูง
                   ที่สุดคิดเป็นอัตรา 1.17 ตันต่อไร่ต่อปี และการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบป่าเบญจพรรณ (ECM04) เกิดการ

                   สูญเสียดินต่ำที่สุดเพียง 0.27 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาการสูญเสียดินของกรมพัฒนาที่ดินเมื่อปี

                   2556 โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ มีอัตราการสูญเสียดิน 0.20 ตันต่อไร่ต่อปี และสอดคล้องกับการศึกษาการ
                   สูญเสียดินของ Morgan, Morgan and Finney (MMF model) ซึ่งมีอัตราการสูญเสียดิน 3.05 ตันต่อไร่ต่อปี

                   บนพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปอย และอัตราการสูญเสียดิน 1.78 ตันต่อไร่ต่อปี บนพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลึก
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12