Page 69 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           53

                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ


                          การศึกษาผลกระทบจากเผาต่อซังและการไม่ไถพรวนดินเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสมบัติดิน การ

                   สูญเสียดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจัดทำแปลงทดลอง ณ หมู่ 7 ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม
                   จังหวัดเชียงใหม่ (พิกัด 47Q  X: 436335  Y: 2038038)บนกลุ่มชุดดินที่ 60 ที่ระดับความลาดเท 20

                   เปอร์เซ็นต์ สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้

                          1.การสูญเสียดิน จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี พบว่าตำรับการทดลองที่ 3 การไถพรวนและเผาตอซัง มี

                   การสูญเสียดินสูงตำรับการทดลองที่ 2 การไถพรวนดินและสับกลบตอซัง จึงกล่าวการเผาตอซังก่อให้เกิดการ
                   สูญเสียดินที่สูงกว่า และทั้งตำรับทดลองที่ 2 และ 3 ข้างต้น มีการสูญเสียดินสูงกว่าตำรับการทดลองที่ 1 และ

                   ตำรับการทดลองที่ 4 ที่ไม่มีการไถพรวนดิน จึงสรุปได้ว่าการไถพรวนดินมีผลทำให้เกิดการสูญเสียดินในอัตรา
                   ที่สูงกว่าการไม่ไถพรวน การเผาตอซังพืชส่งเสริมการสูญเสียดินมากกว่าการสับกลบตอซังพืชลงดิน เนื่องจาก

                   ไม่มีสิ่งปกคลุมดิน และการปลูกพืชคลุมดิน (ถั่วปิ่นโต) มีอัตราการสูญเสียดินต่ำที่สุด

                          2.สมบัติบางประการของดิน

                            2.1 สมบัติทางกายภาพบางประการของดิน จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี พบว่าตำรับการทดลองที่ 1

                   ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง และตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มีค่า
                   ความหนาแน่นของดินสูงกว่าตำรับการทดลองที่มีการไถพรวนและสับกลบตอซัง การหาปริมาณความชื้นใน

                   ดินพบว่าการปลูกพืชคลุมดิน (ถั่วปิ่นโต) มีปริมาณความชื้นในดินสูงสุด และการสับกลบตอซังจะมีปริมาณ
                   ความชื้นในดินสูงกว่าการเผาตอซัง การหาค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินพบว่าการไถพรวนดินมีค่า

                   สัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงกว่าการไม่ไถพรวน การสับกลบตอซังค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงกว่า

                   การเผาตอซัง

                            2.2 สมบัติทางเคมีบางประการของดิน จากผลการทดลองในปี 2 และ 3 ปี ไม่พบความแตกต่าง
                   ทางสถิติของความเป็นกรด-ด่างดินหลังการทดลอง จะมีเพียงปี 1 ที่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ

                   โดยตำรับการทดลองที่ 4 ไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำสุดที่
                   5.6 ในขณะที่ตำรับการทดลองอื่นๆ มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ที่ 6.1

                                 จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี พบกว่าการไถพรวนและสับกลบตอซังมีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ

                   ปริมาณไนไตรเจนทั้งหมด และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในสูงกว่าเผาตอซังพืช แต่สำหรับปริมาณ

                   โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินนั้น พบว่าการเผาตอซังพืชส่งผลให้มีปริมาณ
                   โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงกว่าการสับกลบตอซัง

                            2.3 ธาตุอาหารพืชที่สูญเสียจากการชะล้างพังทลายของดิน พบว่าการไถพรวนดินและการเผาตอซัง

                   พืชจะก่อให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม สูงกว่าการไม่ไถ
                   พรวนและการไม่เผาตอซังพืช

                          3.องค์ประกอบผลผลิตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                            3.1 องค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการทดลองทั้ง 3 ปี พบว่าไม่มีความแตกต่างทาง
                   สถิติของขนาดฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งความกว้างและความยาวฝัก นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างทางสถิติ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74