Page 70 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           54

                   ของจำนวนแถวต่อฝัก และน้ำหนักร้อยเมล็ด ในทุกตำรับการทดลอง ถึงแม้ตำรับการทดลองที่ 4 การไม่ไถ

                   พรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน จะให้ขนาดฝัก จำนวนแถวต่อฝักและน้ำหนักร้อยเมล็ดน้อย
                   ที่สุดก็ตาม

                            3.2 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการทดลองปีที่ 1 และ 2 นั้นพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุก

                   ตำรับการทดลองของน้ำหนักผลผลิตปลอกเปลือกและน้ำหนักเมล็ด ถึงแม้ว่าตำรับการทดลองที่ 4 การไม่ไถ
                   พรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินจะให้น้ำหนักปลอกเปลือกและน้ำหนักเมล็ดน้อยที่สุดก็ตาม

                   ในขณะที่การทดลองปีที่ 3 พบความแตกต่างทางสถิติของน้ำหนักผลผลิตปลอกเปลือกและน้ำหนักเมล็ดโดย

                   ตำรับการทดลองที่ 4 การไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินให้น้ำหนักผลผลิตปลอกเปลือก
                   และน้ำหนักเมล็ดน้อยกว่าตำรับการทดลองอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ

                          4.ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

                            4.1 จากผลการทดลองในปีที่ 1 พบว่าตำรับที่ 2 การไถพรวนดินสับกลบตอซัง และตำรับการ

                   ทดลองที่ 3 การไถพรวนดินและเผาตอซังและ มีต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 4,461 บาทต่อไร่ ทั้งนี้
                   เนื่องจากมีค่าไถเตรียมดิน ตำรับการทดลองที่ 4 การไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน มี

                   ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ 4,015 บาทต่อไร่ เนื่องจากมีค่าพันธุ์ถั่วปิ่นโตที่ใช้ปลูกคลุมดิน และตำรับ

                   การทดลองที่ 1 การไม่ไถพรวนและเผาตอซังซึ่งเป็นวิธีที่นิยมของเกษตรกรในปัจจุบันมีต้นทุนมีต้นทุนการผลิต
                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่ำสุดที่ 3,815 บาทต่อไร่ แต่สำหรับการทดลองในปีที่ 2 และ 3 นั้นตำรับการทดลองที่ 4

                   จะมีต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่ากับตำรับการทดลองที่ 1 เนื่องจากไม่มีค่าพันธุ์ถั่วปิ่นโตเพราะถั่ว
                   ปิ่นโตสามารถเติบโตได้เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกตำรับการทดลองมีต้นทุนการผลิต

                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่ำกว่าต้นทุนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคำนวณไว้ที่ 4,470 บาทต่อไร่

                            4.2 รายได้ และกำไรสุทธิจากการผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่าตำรับการทดลองที่ 1 การไม่ไถ

                   พรวนและเผาตอซังให้รายได้ และกำไรสุทธิสูงที่สุดในทุกปีที่ทำการทดลอง โดยตำรับการทดลองที่ 1 การไม่
                   ไถพรวนและเผาตอให้รายได้สูงสุดอยู่ในช่วง 8,837 – 10,284 บาทต่อไร่ และให้กำไรสุทธิสูงสุดอยู่ในช่วง

                   5,021- 6,468 บาทต่อไร่ และตำรับที่ 4 การไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซังและปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดินให้รายได้
                   และกำไรสุทธิรองลงมา โดยให้รายได้อยู่ในช่วง 8,508 – 9,462 บาทต่อไร่ และให้กำไรสุทธิอยู่ในช่วง 4,692

                   – 5,647 บาทต่อไร่ สำหรับการทดลองที่ 2 และ 3 ให้รายได้และกำไรสุทธิที่น้อยกว่า เนื่องจากมีค่าไถพรวน

                   เตรียมดิน

                          เมื่อพิจารณาในแง่ต้นทุนการผลิตและกำไรสุทธิจะพบว่าการไม่ไถพรวนและการเผาตอซัง จะมีต้นทุน
                   ที่ต่ำที่สุดและมีกำไรสุทฺธิสูงที่สุด และสะดวกในทางปฏิบัติ ในขณะที่การไม่ไถพรวนดินไม่เผาตอซังและปลูก

                   พืชคลุมดินจะมีต้นทุนและกำไรสุทธิรองลงมา แต่สามารถช่วยลดการสูญเสียดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืชจาก
                   การชะล้างพังทลายของดินได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณามาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                   สำหรับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (GAP) หรือมาตรการไม่รับซื้อหรือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกให้พื้นเผา

                   ตอซังในราคาที่ต่ำกว่า นั้น การไม่ไถพรวน ไม่เผาตอซังและปลูกพืชคลุมดินในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บน
                   พื้นที่สูงจะเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75