Page 10 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                   ทะเบียนวิจัยเลขที่    61-63-18-11-020105-009-108-05-13

                   ชื่อโครงการวิจัย     ภาษาไทย:ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อการปลูก
                                        ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่

                                        ภาษาอังกฤษ:Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties for

                                        Maize Production on Upland in Chiang Mai Province.


                   กลุ่มชุดดินที่        60

                   สถานที่ดำเนินการ      ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
                   ผู้รับผิดชอบ          นายณรงค์เดช  ฮองกูล         Mr.Narongdech Hongkul

                   ที่ปรึกษาโครงการ      นายยุทธศาสตร์  อนุรักติพันธุ์   Mr. Yuthasart Anuluxtipun
                   ผู้ร่วมดำเนินการ      นางสาววิชิตา  อินทรศรี      Miss WIchita Intharasri

                   ผู้ร่วมดำเนินการ      นางสาวสมจินต์  วานิชเสถียร   Miss Somjin Wanichasathian

                   ผู้ร่วมดำเนินการ      นายพงศ์ธร  เพียรพิทักษ์     Mr Phongthorn Phianphitak
                   ผู้ร่วมดำเนินการ      นายธนัญชย์  ดำขำ            Mr. Thanan Damkham


                                                            บทคัดย่อ



                          การศึกษาผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                   บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเผาตอซังข้าวโพด ต่อสมบัติดิน การสูญเสียดิน การ

                   สูญเสียธาตุอาหารพืช ความชื้นดินและการกักเก็บคาร์บอนในดิน ดำเนินการศึกษาบนกลุ่มชุดดินที่ 60 ใน
                   พื้นที่ หมู่ 7 ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับความลาดเท 20 เปอร์เซ็นต์ วางแผนการ

                   ทดลองแบบสุ่มภายในบล๊อกสมบูรณ์ (Randomized Completely Block Design,RCBD) 4 ตำรับการ

                   ทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ได้แก่ 1) ไม่ไถพรวนและเผาตอซัง 2) ไถพรวนดินสับกลบตอซัง 3) ไถพรวนดินและเผา
                   ตอซัง และ 4) ไม่ไถพรวนดิน ไม่เผาตอซัง และปลูกถั่วปิ่นโตคลุมดิน

                          การศึกษาพบว่าการไถพรวนดินมีผลทำให้เกิดการสูญเสียดินในอัตราที่สูงกว่าการไม่ไถพรวน การเผา
                   ตอซังพืชส่งเสริมการสูญเสียดินมากกว่าการสับกลบตอซังพืชลงดิน เนื่องจากไม่มีสิ่งปกคลุมดิน การไม่ไถ

                   พรวนดินมีค่าความหนาแน่นของดินสูงกว่าการไถพรวนและสับกลบตอซัง การปลูกพืชคลุมดินมีปริมาณ

                   ความชื้นในดินสูงสุด และการสับกลบตอซังจะมีปริมาณความชื้นในดินสูงกว่าการเผาตอซัง ค่าสัมประสิทธิ์การ
                   นำน้ำของดินพบว่าการไถพรวนดินมีค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงกว่าการไม่ไถพรวน การสับกลบตอซัง

                   ค่าสัมประสิทธิ์การนำน้ำของดินสูงกว่าการเผาตอซัง

                          การไถพรวนและสับกลบตอซังมีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนไตรเจนทั้งหมด และปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในสูงกว่าเผาตอซังพืช แต่การเผาตอซังพืชส่งผลให้มีปริมาณโพแทสเซียม

                   แมกนีเซียม และแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงกว่าการสับกลบตอซัง การไถพรวนดินและการเผาตอซังพืช
                   จะก่อให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม สูงกว่าการไม่ไถพรวน

                   และการไม่เผาตอซังพืช
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15