Page 43 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          32

                                                      ผลการวิจัยและวิจารณ์


                          การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม

                   ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม
                   ตอนล่าง ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2561 – 2563 มีผลการศึกษาดังนี้

                   1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านปริมาณน้ำฝน

                          1.1 ปริมาณน้ำฝนสะสมบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม

                          การศึกษาปริมาณน้ำฝนสะสมซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการชะล้างพังทลายของดิน

                   โดยแรงตกกระทบของฝนจะทำให้ดินเกิดการแตกแยก น้ำไหลบ่าหน้าดิน และเคลื่อนย้ายอนุภาคดิน
                   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกหนัก ปริมาณการชะล้างพังทลายจะเกิดขึ้นสูงสุด

                          จากการติดตามปริมาณน้ำฝน ณ สถานีตรวจวัดเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่า มีปริมาณน้ำฝน

                   เฉลี่ย 1,011.6 มิลลิเมตรต่อปี โดยปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือนในปี 2561 อยู่ในช่วง 0.3 – 214.6 มิลลิเมตร
                   และรวมเป็นปริมาณสะสมรายปีเท่ากับ 980.4 มิลลิเมตร โดยพบว่าปริมาณน้ำฝนเดือนตุลาคมมีปริมาณมาก

                   ที่สุด ปี 2562 ปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือนอยู่ในช่วง 9.1 – 238.3 มิลลิเมตร รวมเป็นปริมาณสะสมรายปี

                   เท่ากับ 972.4 มิลลิเมตร โดยปริมาณน้ำฝนเดือนสิงหาคมมีปริมาณมากที่สุด และปี 2563 ปริมาณน้ำฝน
                   สะสมรายเดือนอยู่ในช่วง 2.1 – 389.0 มิลลิเมตร รวมเป็นปริมาณสะสมรายปี 1,082.0 มิลลิเมตร โดย

                   ปริมาณน้ำฝนเดือนสิงหาคมมีปริมาณมากที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 9

                   ตารางที่ 9 ปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือนบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม ปี 2561 – 2563


                                              ปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือน (มิลลิเมตร)
                      ปี                                                                               รวม
                           ม.ค.  ก.พ.  มี.ค.  เม.ย.  พ.ค.  มิ.ย.  ก.ค.  ส.ค.   ก.ย.  ต.ค.  พ.ย.  ธ.ค.

                    2561  0.3     -   10.6  36.3  196.7  144.8  159.4  120.3  64.2  214.6  8.5  24.7  980.4

                    2562  38.8    -    -    22.3  77.3  43.5  97.3  238.3  214.3  175.5  56     9.1   972.4
                    2563    -     -    5.1  63.1  41.5  98.9  137.8  389.0  249.4  95.1  2.1     -    1,082.0

                    เฉลี่ย  19.6       7.9   40.6  105.2   95.7   131.5  249.2  176.0  161.7  22.2  16.9  1,011.6


                          1.2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนสะสมบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม
                          หากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนสะสมในแต่ละปี พบว่า ปี 2561/2562 ปริมาณ

                   น้ำฝนสะสมรายปีลดลง 8.0 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.82 ส่วนปี 2562/2563 ปริมาณน้ำฝนสะสมรายปีเพิ่มขึ้น

                   109.6 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.27 ดังแสดงในตารางที่ 10

                   ตารางที่ 10 การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนสะสมบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม ปี 2561 – 2563

                                                                 การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนสะสม
                                 ปี
                                                    ปริมาณน้ำฝนสะสม (มิลลิเมตร)     ปริมาณน้ำฝนสะสม (%)
                             2561/2562                        -8.0                          -0.82

                             2562/2563                        109.6                        11.27
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48