Page 30 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           25

                   ตารางที่ 9  แสดงผลวิเคราะห์คาร์บอน ไนโตรเจน และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนในดิน ปี พ.ศ. 2562


                                          ตำรับทดลอง                            C          N       C/N ratio

                     T1  ควบคุม (ไม่เผา+ไม่ไถ+ไม่ใส่ปุ๋ย)                      2.12       0.15       13.73
                     T2  เผา+ไถ+ปุ๋ยเคมีเกษตรกร                                2.11       0.16       13.10

                     T3  ไม่เผา+ไม่ไถ+ปุ๋ยเคมีเกษตรกร                          1.99       0.15       13.13
                     T4  ไม่เผา+ไถ+ปุ๋ยเคมีเกษตรกร                             1.87       0.15       12.60
                     T5  ไม่เผา+ไถ+ปุ๋ยTSFM+ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตัน/ไร่        1.98       0.16       12.53

                     T6  ไม่เผา+ไถ+ปุ๋ยTSFM+ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตัน/ไร่        2.32       0.18       12.56
                     T7  ไม่เผา+ไถ+ปุ๋ยเคมีค่าวิเคราะห์                        2.19       0.15       14.17

                     T8  ไม่เผา+ไถ+ปุ๋ยTSFM                                    2.02       0.15       13.80

                                            mean                              2.075      0.157      13.202

                                            F-test                              ns         ns         ns
                                             %CV                              13.337     14.607      5.188

                   หมายเหตุ: ns ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

                          2.2 การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด ฤดูปลูกที่ 2 ปี พ.ศ. 2562

                          2.2.1 ความสูงต้นข้าวโพด

                                การเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า ตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูก
                   ร่วมกับปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ ทำให้ต้นข้าวโพดมีความสูงที่สุด เมื่อ
                   ข้าวโพดอายุ 30 และ 45 วันหลังจากปลูก โดยมีความสูงต้นเฉลี่ย 69.6 และ 176.57 เซนติเมตร ตามลำดับ
                   การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดการดินและธาตุอาหารตามตำรับที่ 6 มีอิทธิพลต่อความสูงของต้นข้าวโพด เมื่อ
                   วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว พบว่ามีความแตกต่างจากวิธีการอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95
                   เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) หลังจากนั้นเมื่อข้าวโพดมีอายุ 60 70 และ 90 วันหลังจากปลูก ต้นข้าวโพดมีความสูงต้นเฉลี่ย
                   228.70 238.63 และ 240.250 เซนติเมตร พบว่าการจัดการและการให้ปุ๋ยที่แตกต่างกันไม่ทำให้ความสูงของต้น
                   ข้าวโพดแตกต่างกันทางสถิติ ดังตารางที่ 10 ทั้งนี้เนื่องจากในตำรับที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ อิทธิพลของ
                   ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถเพิ่มธาตุอาหารและรักษาความชื้นให้กับดินพืชจึงสามารถนำไปใช้การเจริญเติบโตได้

                   ดีและเร็วกว่าตำรับอื่น เมื่อข้าวโพดอายุ 75 วัน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตช้าลงเนื่องจากเป็นระยะที่สะสมน้ำหนัก
                   เมล็ดให้กับผลผลิต ทั้งนี้พบว่าการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดมีรูปแบบการเจริญโตเช่นเดียวกับปีแรก ดังภาพที่ 7
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35