Page 28 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           23

                   และไถพรวน ร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เฉลี่ยน้อยที่สุด 346.67 มิลลิกรัม
                   ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติแล้วพบว่าการจัดการที่แตกต่างกันไม่ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น
                   ประโยชน์แตกต่างกันทางสถิติ และทุกตำรับการทดลองมีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 120 มิลลิกรัม

                   ต่อกิโลกรัม จึงจัดว่าปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ในระดับที่สูงมากทั้งก่อนและหลังปลูกข้าวโพด
                   เช่นเดียวกับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน

                                 2.1.6 ปริมาณแคลเซียมในดิน
                                        การศึกษาปริมาณแคลเซียมในดิน พบว่ามีปริมาณค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1,482.00 –
                   2,220.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เฉลี่ยสูง
                   ที่สุด 2,220.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ

                   จากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์ 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณแคลเซียมเท่ากับ 1,852.33 ส่วนตำรับที่ 4 การเตรียมดิน
                   โดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีปริมาณแคลเซียม น้อยที่สุด 1,482.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จาก
                   ผลวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการจัดการที่แตกต่างกันไม่ทำให้ปริมาณแคลเซียมในดินแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณา
                   ปริมาณแคลเซียมในดินเริ่มต้นแล้วพบว่า ก่อนดำเนินการมีค่าเฉลี่ย 1,886 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดว่าเป็นปริมาณที่
                   สูงมากเกินความต้องการของพืชอยู่แล้ว การใส่ปุ๋ยในทุกตำรับการทดลอง จึงเป็นการส่งเสริมให้ปริมาณแคลเซียมใน
                   ดินเพิ่มสูงขึ้นด้วย ประกอบกับธาตุแคลเซียมเป็นธาตุอาหารรองที่พืชมีความต้องการในปริมาณน้อยจึงทำให้เกิดการ
                   สะสมในดินอยู่มาก

                                 2.1.7 ปริมาณแมกนีเซียมในดิน
                                       ผลการศึกษาปริมาณแมกนีเซียมในดิน พบว่ามีปริมาณค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 169.00 –

                   253.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม
                   TSFM และปุ๋ยอินทรีย์ 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณแมกนีเซียมเฉลี่ยสูงที่สุด 253.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือตำรับ
                   ที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 202.33 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม ส่วนตำรับที่ 3 การเตรียมดินโดยไม่เผา และไม่ไถพรวน และใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
                   169.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งให้ผลการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับปริมาณแคลเซียม
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33