Page 35 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           30

                   TSFM มีปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย น้อยที่สุด 2.17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการจัดการแต่ละตำรับมีปริมาณอินทรียวัตถุไม่

                   แตกต่างกันทางสถิติ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการจัดการธาตุอาหารโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถเพิ่ม
                   อินทรียวัตถุในดินได้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนดำเนินการแล้ว พบว่าปริมาณ

                   อินทรียวัตถุในดินมีระดับลดลง จากการจัดการในพื้นที่ และตลอดจนการชะล้างจากลมหรือฝน ซึ่งอินทรียวัตถุในดิน
                   สามารถสูญเสียไปจากพื้นที่เพาะปลูกได้จากการไถพรวน เนื่องจากการไถพรวนทำให้ดินง่ายต่อการกัดกร่อนทั้งโดย
                   น้ำ และลม


                          3) ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
                             ผลการศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอน พบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนอยู่ระหว่าง 1.26 - 1.59 เปอร์เซ็นต์
                   โดยตำรับที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนเฉลี่ยสูง
                   ที่สุด 1.59 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ ตำรับที่ 4 การเตรียมดินโดยการไถร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีของเกษตรกร

                   มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนเฉลี่ย 1.53 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตำรับที่ 8 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตาม
                   คำแนะนำจากโปรแกรม TSFM พบปริมาณอินทรีย์คาร์บอนเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.26 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาแสดง
                   ให้เห็นว่าวิธีการจัดการธาตุอาหารโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนได้เช่นเดียวกับปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดิน ซึ่งผลการศึกษาให้ผลไปในทิศทางเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                          4) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                             ผลการศึกษาปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ระหว่าง 21.33 – 91.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดย

                   ตำรับทึ่ 5 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตัน
                   ต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเฉลี่ยสูงที่สุด 91.33 รองลงมาคือตำรับที่ 2 การเผาก่อนการไถพรวน

                   ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เฉลี่ยเท่ากับ 67.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วน
                   ตำรับที่ 3 การไม่เตรียมดินร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีปริมาณฟอสฟอรัสน้อยที่สุด 21.33 มิลลิกรัมต่อ

                   กิโลกรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งนี้ทุกตำรับการทดลองตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว พบปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงมากและอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช


                          5) ปริมาณโพแทสเซียมในดิน
                             การศึกษาดินหลังจากปลูกข้าวโพด พบปริมาณโพแทสเซียมในดินอยู่ระหว่าง 363.67 – 562.67
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยตำรับทึ่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM

                   และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณโพแทสเซียมเฉลี่ยสูงที่สุด 562.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมา ได้แก่

                   ตำรับที่ 2 การเผาก่อนการไถพรวนร่วมกับปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร เท่ากับ 474.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนตำรับที่
                   การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ TSFM มีปริมาณโพแทสเซียมน้อยที่สุด 363.67

                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                          6) ปริมาณแคลเซียมในดิน
                          ผลการศึกษาธาตุอาหารรองหลังจากปลูกข้าวโพด พบปริมาณแคลเซียมในอยู่ระหว่าง 1,230.33 –

                   1,977.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยตำรับทึ่ 5 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม
                   TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตันต่อไร่ มีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยสูงที่สุด 1,977.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมา

                   ได้แก่ ตำรับที่ 2 การเผาก่อนการไถพรวนร่วมกับปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีปริมาณแคลเซียมเฉลี่ย 1,743.00 ส่วน
                   ตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตัน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40