Page 27 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           22

                   ข้อมูลทางสถิติ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การจัดการดินและธาตุอาหารที่แตกต่าง
                   กันไม่ทำให้ระดับความเป็นกรดด่างของดินแต่ละตำรับแตกต่างกัน หากพิจารณาผลวิเคราะห์ดินก่อนดำเนินการในปี
                   พ.ศ. 2561 ดินมีระดับความเป็นกรดด่าง เท่ากับ 6.3 จัดว่ามีความเป็นกรดเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าทุกตำรับมีความ

                   เป็นกรดด่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับที่เป็นกรดเล็กน้อย จนถึงเป็นกลาง ซึ่งเป็นระดับที่มีความเหมาะสมต่อการ
                   ละลายของธาตุอาหารในดิน และเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช


                                 2.1.2. ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                                        ปริมาณอินทรียวัตถุในดินแต่ละตำรับการทดลอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.86 – 3.49
                   เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างสูง โดยตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตาม
                   คำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ยสูงที่สุด 3.49 เปอร์เซ็นต์
                   รองลงมาคือ ตำรับที่ 2 การเผาตอซัง และไถพรวน ร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43
                   เปอร์เซ็นต์ ส่วนตำรับที่ 4 การเตรียมดินโดยการไถร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีของเกษตรกร มีปริมาณอินทรียวัตถุใน
                   ดินน้อยที่สุด 2.86 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการจัดการธาตุอาหารโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                   สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุในดินได้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนดำเนินการแล้ว พบว่า

                   ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีระดับลดลง ทั้งนี้อินทรียวัตถุในดินสามารถสูญเสียไปจากพื้นที่เพาะปลูกได้จากการไถ
                   พรวน เนื่องจากการไถพรวนทำให้ดินง่ายต่อการกัดกร่อนทั้งโดยน้ำ และลม
                                 2.1.3 ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน

                                       ผลการศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.66 - 2.02 เปอร์เซ็นต์
                   โดยตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4

                   ตันต่อไร่ ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2.02 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือตำรับที่ 2 การเผาตอซัง และไถพรวน ร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตาม
                   วิธีเกษตรกร 1.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตำรับที่ 4 การเตรียมดินโดยการไถร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีของเกษตรกร มี
                   ปริมาณอินทรีย์น้อยที่สุด 1.66 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการจัดการธาตุอาหารโดยการใส่ปุ๋ย
                   อินทรีย์ สามารถเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนได้เช่นเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                                 2.1.4 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

                                        ผลการศึกษาปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน พบว่ามีปริมาณเฉลี่ยอยู่ระหว่าง
                   79.67 – 260.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจาก
                   โปรแกรม TSFM และปุ๋ยอินทรีย์ 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเฉลี่ยสูงที่สุด 260.90
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือ ตำรับที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน
                   เท่ากับ 143.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนการเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ TSFM มี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสน้อยที่สุด 79.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งการจัดการธาตุอาหารที่แตกต่างกันแต่ละตำรับนั้นมีผล
                   ต่อปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 8 ซึ่งทุกตำรับมี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อพิจารณาปริมาณฟอสฟอรัสเริ่มต้นแล้วพบว่า ก่อนดำเนินการมีค่าเฉลี่ย

                   171.88 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดว่าเป็นปริมาณที่สูงเกินความต้องการของพืชอยู่แล้ว การใส่ปุ๋ยในตำรับการทดลองที่
                   6 จึงเป็นการส่งเสริมให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มสูงขึ้นด้วย

                                 2.1.5 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน
                                         ผลการศึกษาปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง

                   346.67 – 464.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยตำรับที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า
                   วิเคราะห์ดิน มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เฉลี่ยสูงที่สุด 464.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือตำรับที่ 8
                   การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำ TSFM เท่ากับ 463.33 ส่วนตำรับที่ 2 การเผาตอซัง
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32