Page 23 - อิทธิพลจากการเผาต่อระบบการปลูกข้าวโพด และคาร์บอนในดินบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning on Maize Production Systems and Soil Carbon on Upland in Chiang Mai Province.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           18



































                       ภาพที่ 6 แสดงการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด ฤดูปลูกที่ 1 ปี พ.ศ. 2561


                       1.2.2 ผลผลิตข้าวโพด

                         1) ขนาดฝัก


                          จากการศึกษาพบว่าขนาดความกว้างฝักข้าวโพดมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.15 – 4.46 เซนติเมตร โดยตำรับทึ่
                   7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ข้าวโพดมีความกว้างฝักเฉลี่ยมากที่สุด 4.46
                   เซนติเมตรรองลงมาคือตำรับที่ 3 ไม่ไถพรวนก่อนปลูกร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร ข้าวโพดมีความกว้างฝัก

                   เฉลี่ย 4.39 เซนติเมตร ส่วนตำรับที่ 1 เป็นตำรับควบคุม ข้าวโพดมีความกว้างฝักเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.15
                   เซนติเมตร  ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านความยาวฝัก ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16.40 – 17.73 เซนติเมตร โดย
                   ตำรับที่ 4 การไถพรวนดินก่อนปลูกร่วมกับการปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร ทำให้ข้าวโพดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด
                   17.73 เซนติเมตร รองลงมาคือตำรับที่ 3 ไม่ไถพรวนก่อนปลูกร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร ข้าวโพดมีความ
                   กว้างฝักเฉลี่ย 17.72 เซนติเมตร ส่วนตำรับที่ 1 เป็นตำรับควบคุม ข้าวโพดมีความกว้างฝักเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ
                   16.40 เซนติเมตร เช่นเดียวกับความกว้างฝัก และพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังตารางที่ 6

                          2) น้ำหนักต่อฝักก่อนปอกเปลือก

                          จากการศึกษาพบว่าน้ำหนักข้าวโพดต่อฝักก่อนปอกเปลือกมีค่าเฉลี่ย 177.33 – 225.73 กรัม เฉลี่ย 204.57
                   กรัม โดยตำรับที่ 7 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำหนักฝักเฉลี่ยมากที่สุด
                   225.73 กรัม รองลงมาคือตำรับที่ 6 การเตรียมดินโดยไถก่อนปลูกร่วมกับใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากโปรแกรม TSFM
                   และปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ มีน้ำหนักต่อฝักเฉลี่ยเท่ากับ 214.80 กรัม ส่วนตำรับที่ 1 เป็นตำรับควบคุม  มี
                   น้ำหนักต่อฝักเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 177.33 กรัม ซึ่งพบว่าแต่ละตำรับที่มีการจัดการที่แตกต่างกันมีน้ำหนักฝักก่อน
                   ปอกเปลือกไม่แตกต่างกันทางสถิติ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28