Page 101 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 101

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           85

                          4.2.3 การชะล้างพังทลายของดินในพื นที่ปลูกข้าวโพด

                          จากฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2561 – 2563 รายงานว่าพื้นที่ลุ่มน้ า
                   แม่แจ่ม มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งสิ้น 116,146 ไร่ ส าหรับผลการศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน สามารถสรุป
                   ได้ว่า ในปี 2561 – 2563 มีปริมาณการสูญเสียดินเฉลี่ย 613,716 ตันต่อปี หรือ 499,304 443,296 และ
                   898,549 ตันต่อปี ตามล าดับ พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินอยู่ในระดับน้อยมาก หรือระดับที่ 1

                   มีอัตราการชะล้างพังทลายของดินอยู่ช่วง 0 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี เป็นพื้นที่เฉลี่ย 73,478 ไร่ต่อปี คิดเป็น
                   ร้อยละ 63.26 โดยในปี 2561 และ 2562 เป็นพื้นที่ 92,426 และ 96,090 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 79.58 และ
                   82.73 ตามล าดับ ส่วนปี 2563 พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินอยู่ในระดับปานกลาง หรือ
                   ระดับที่ 3 มีอัตราการชะล้างพังทลายของดินอยู่ช่วง 5 – 15 ตันต่อไร่ต่อปี เป็นพื้นที่ 76,541 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                   65.90 ส าหรับพื้นที่ที่เกิดการชะล้างพังทลายของดินที่ระดับรุนแรงมาก หรือระดับที่ 5 มีอัตราการชะล้าง
                   พังทลายของดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี เป็นพื้นที่เฉลี่ย 12,659 ไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 10.90 หรือ 18,970
                   7,987 และ 210 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.33 6.88 และ 0.18 ตามล าดับ โดยพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายใน
                   ระดับรุนแรงมากนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่สูงมากกว่าในพื้นที่ราบ

                          ส าหรับผลการศึกษาสามารถประเมินพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินได้ โดยพื้นที่ที่มี
                   ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน หมายถึง พื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลายในระดับความรุนแรงปานกลาง
                   ถึงรุนแรงมาก หรือระดับ 3 – 5 มีอัตราการชะล้างพังทลายตั้งแต่ 5 ตันต่อไร่ต่อปีขึ้นไป พบว่า ปี 2561 –
                   2563 มีพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเฉลี่ย 44,110 คิดเป็นร้อยละ 37.98 หรือ 20,193 19,517

                   และ 81,812 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.39 16.80 และ 70.44 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด ตามล าดับ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว
                   ควรมีการวางแนวป้องกันการเกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน โดยการวางมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
                   รูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อลดระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลาย ส าหรับการชะล้างพังทลายของดิน
                   ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด ปี 2561 – 2563 ดังแสดงในตารางที่ 48
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106