Page 30 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          20

                                                          ผลการทดลอง


                   1. ข้อมูลดินที่ใช้ศึกษา

                          ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินจากแหล่งปลูกขมิ้นชันที่ส าคัญ บริเวณพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

                   สุราษฎร์ธานี และกาญจนบุรี จ านวนทั้งหมด 105 แปลง (ภาพที่ 7) พบว่า พื้นที่โดยรวม ดินมีอนุภาคขนาด
                   ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว อยู่ในช่วง 7.54-70.74, 8.94-48.66 และ 10.60-83.52 เปอร์เซ็นต์ มีค่า

                   กลางของแต่ละขนาดอนุภาคเท่ากับ 28.68, 32.30 และ 36.44 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ปลูก

                   ขมิ้นส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อละเอียด ส่วนพีเอชของดิน อยู่ในช่วง 3.9-8.4 มีค่ากลางเท่ากับ 5.9 ปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในแต่ละแปลงมีความผันแปรอยู่ในช่วง 12.20-88.10 กรัมต่อกิโลกรัม และมีค่ากลาง 37.50 กรัม

                   ต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีความแปรปรวนสูง พบค่าอยู่ในช่วง 1-219
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่ากลาง 8.60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ ากว่าเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป ส่วนปริมาณ

                   โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่สกัดได้ มีค่าครอบคลุมอยู่ในช่วง 43-1,062, 97-9,376 และ

                   27-1,495 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่ากลาง 150, 1,454 และ 239 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ในขณะที่
                   ปริมาณก ามะถันที่สกัดได้มีความผันแปร พบค่าอยู่ในช่วง 0.6-122 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่ากลางเท่ากับ

                   5.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต่ ากว่าค่าแนะน าโดยทั่วไป


                   2. ข้อมูลพืชที่ใช้ศึกษา

                          2.1 สถานะธาตุอาหารในใบขมิ้นชัน
                                 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างใบขมิ้นชันจากแหล่งปลูกบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ จ านวนทั้งหมด

                   105 แปลง อันแสดงถึงการสะสมธาตุอาหารส าหรับน าไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต พบว่า

                   ไนโตรเจนมีค่ากลาง 25.20 กรัมต่อกิโลกรัม ความเข้มข้นครอบคลุมอยู่ในช่วง 17.70-31.30 กรัมต่อกิโลกรัม
                   ฟอสฟอรัสมีค่ากลาง 2.50 กรัมต่อกิโลกรัม มีความผันแปรอยู่ในช่วง 1.20-4.00 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนความ

                   เข้มข้นโดยรวมของโพแทสเซียมสูงกว่าไนโตรเจน มีค่ากลาง 35.50 กรัมต่อกิโลกรัม และมีค่ากระจายอยู่

                   ในช่วง 19.80-45.00 กรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งในพืชทั่วไปจะมีความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงกว่า นอกจากนี้  พบว่า
                   แคลเซียมมีค่ากลาง 9.30 กรัมต่อกิโลกรัม การกระจายของความเข้มข้นมีความผันแปรสูงอยู่ในช่วง

                   1.40-21.30 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนแมกนีเซียมมีค่ากลาง 3.70 กรัมต่อกิโลกรัม พบความเข้มข้นอยู่ในช่วง
                   2.00-9.80 กรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ ก ามะถันมีค่ากลาง 0.60 กรัมต่อกิโลกรัม พบความเข้มข้นกระจายอยู่

                   ในช่วงแคบ 0.10-2.30 กรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 8)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35