Page 14 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว กข 41 จังหวัดพิษณุโลก Study efficiency of bio-fertilizer to increase growth and rice (Ko Kho 41) yield in Phitsanulok Province
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                         6


                          4) ความชื้นสัมพัทธ เฉลี่ยทั้งป 74 เปอรเซ็นต ความชื้นสัมพัทธเฉลี่ยสูงสุดในเดือนกันยายน 82.7

               เปอรเซ็นต และเฉลี่ยต่ําสุดในเดือนเดือนเมษายน 62.9 เปอรเซ็นต
                          5) การใชน้ําของพืชอางอิง รวมทั้งป 1,487.4 มิลลิเมตร เดือนเมษายนมีการใชน้ําของพืชอางอิงเฉลี่ย
               สูงสุดประมาณ 162.3 มิลลิเมตร และเดือนธันวาคมมีการใชน้ําของพืชอางอิงเฉลี่ยต่ําสุดประมาณ 99.5 มิลลิเมตร

               3.2 สมดุลน้ํา
                          การวิเคราะหชวงฤดูกาลเพาะปลูกพืชที่เหมาะสม ไดจากการวิเคราะหความสัมพันธระหวางปริมาณ

               น้ําฝนเฉลี่ยรายเดือน การใชน้ําของพืชอางอิง (ET0) และครึ่งหนึ่งของการใชน้ําของพืชอางอิง (0.5ET0) โดยการใช
               น้ําของพืชอางอิง (ET0) คํานวณจากโปรแกรม CropWat สูตร Penman-Monteith ซึ่งเปนสูตรที่ไดรวมเอา
               อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ําสุด ความชื้นสัมพัทธ ความเร็วลมและความยาวนานแสงแดด ไดผลการวิเคราะหตาม
               ภาพที่ 3  สรุปไดดังนี้

                          1) ชวงระยะเวลาที่เหมาะสมตอการปลูกพืช เปนชวงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะตอการเพาะปลูกอยู
               ในชวงปลายเดือนเมษายนถึงตนเดือนพฤศจิกายน
                          2) ชวงระยะเวลาที่มีน้ํามากเกินพออยูในชวงกลางเดือนพฤษภาคมถึงชวงปลายเดือนตุลาคม
                          3) ชวงระยะเวลาที่ขาดน้ําอยูในชวงตนเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายน เปนชวงที่ไม
               เหมาะสมตอการปลูกพืช โดยอาศัยน้ําฝนเนื่องจากดินมีความชื้นไมเพียงพอตอการเจริญเติบโตของพืช


               จุลินทรียกับการเจริญเติบโตของพืช

                      ในธรรมชาติสวนตางๆ ของพืชทั้งใบ ลําตน และราก มีจุลินทรียอาศัยอยูจํานวนมากและหลากหลายสาย
               พันธุ มีทั้งชนิดที่อาศัยรอบผนังเซลลพืช ภายในเซลลพืช หรือแมกระทั้งภายในทอน้ําทออาหารพืช โดยสวนใหญจะ

               อยูอาศัยกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน  (hardoim  et  al.,  2008)  โดยมีหลายสายพันธุที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึง
               ไนโตรเจนจากอากาศใหเปนประโยชนแกพืชได เชน Pseudomonas sp. Burkholderia sp. และ Azorhizobium
               sp. เปนตน (jame et al., 2002) ซึ่งแบคทีเรียเหลานี้จะมีประโยชนอยางมากในระบบการเกษตร โดยเฉพาะชวย
               ลดตนทุนการใชปุยเคมีไนโตรเจนใหแกเกษตร   ดังนั้นถาสามารถแยกและคัดเลือกจุลินทรียกลุมดังกลาวไดและ
               นํามาประยุกตใชในการผลิตขาวจะเปนประโยชนอยางมากแกเกษตร
                      แบคทีเรียเอนโดไฟท  (endophytic  bacteria)  เปนแบคทีเรียที่ใชชีวิตทั้งหมดหรือบางชวงอยูในเนื้อเยื่อ

               พืช แลวใหประโยชนแกพืชอาศัยโดยไมทําอันตรายหรือกอใหเกิดโรคแกพืช เปนแบคทีเรียที่อาศัยอยูภายในเนื้อเยื่อ
               ของพืชที่มีความสัมพันธที่ใกลชิดกับพืช  และไดรับประโยชนในแงมีการแขงขัน  แยงแหลงคารบอนหรืออาหารนอย
               และพืชอาศัยชวยปองกันสภาพแวดลอมที่ไมเหมาะสมใหแกแบคทีเรีย (Reinhold-Hurek and Hurek, 1998)
                      แบคทีเรียเอนโดไฟทตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixing endophytic bacteria) ปจจุบันมีการศึกษาเอนโด

               ไฟติกแบคทีเรียในพืช  โดยใชวิธีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล  พบวามีความหลากหลายทางสปชีสของเอนโดไฟติก
               แบคทีเรียในพืช และยังพบวาเอนโดไฟติกแบคทีเรียชวยสงเสริมการเจริญเติบโตของพืชและผลผลิต ยับยั้งจุลินทรีย
               สาเหตุโรคพืช  ละลายฟอสเฟต  และยังชวยหาไนโตรเจนในรูปที่เปนประโยชนใหกับพืช  (assimilable  nitrogen)
               (de Matos Nogueira et al., 2001) ตัวอยาง เอนโดไฟติกแบคทีเรียที่ทําหนาที่ในการใหไนโตรเจนแกพืช ไดแก
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19