Page 49 - แผนบริหารจัดการโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำโดมใหญ่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          34



               มาตรการอนุรักษณ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น การปรับรูปแปลงนา บ่อดักตะกอน การปลูกพืชตามแนวระดับ

               รวมไปถึงการปรับปรุงโครงสร้างของดินการเพิ่มธาตุอาหาร จุลินทรีย์ อินทรียวัตถุลงไปในดิน นอกจากนี้การ
               ปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นของดินไว้ และยังช่วยลดการชะล้างพังทลาย ของดินได้อีกด้วย

                     จากปัจจัยด้านลักษณะของดินที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดจะทนต่อการ

               ชะล้างพังทลายที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะค่าปัจจัยความคงทนของดิน (K-
               factor) ที่สามารถน าไปประเมินการสูญเสียดินในสมการการสูญเสียดินสากล (USLE) จะเห็นว่า ปัจจัย

               สมบัติดินที่มีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดินได้แก่ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้งและปริมาณ
               ร้อยละของทรายละเอียดมาก (% silt + % very fine sand) (2) ปริมาณร้อยละของทราย (% sand)

               (3)ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุในดิน (% organic matter) (4) โครงสร้างของดิน (soil structure)

               และ (5) การซาบซึมน้ าของดิน (permeability) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)
                     นอกจากปัจจัยด้านลักษณะสมบัติของดินแล้ว ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินก็มีผล

               ต่อการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะความลาดชันของพื้นที่จะมีผลโดยตรงต่อการชะล้างพังทลายของ
               ผิวหน้าดิน การไหลบ่าของน้ าผ่านผิวหน้าดิน ระดับน้ าใต้ดิน ความชื้นในดิน การระบายน้ า ความยากง่ายต่อ

               การกักเก็บน้ าและการเขตกรรม ดังนั้น สภาพพื้นที่จึงเป็นปัจจัยที่ส าคัญอย่างหนึ่งที่ควบคุมลักษณะของ

               การใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งส่งผลต่อการชะล้างพังทลายของดินด้วย โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น ข้าว มันส าปะหลัง
               อ้อย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกเป็นส่วนใหญ่ มีวิธีการปลูกที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพของดิน ทั้ง

               การไถพรวนบ่อยครั้ง การเผาตอซัง และแนวการปลูกมันส าปะหลังที่มักปลูกแนวเดียวกับความลาดชันเพื่อ

               การระบายน้ า ส่งผลท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงเป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้สมบัติดินทางกายภาพ
               ลดลง และส่งเสริมให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มสูงขึ้น

               ตารางที่ 3-3  ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยต าแย อ าเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

                                                                                            เนื้อที่
                ล าดับ  สัญลักษณ์                      ค าอธิบาย
                                                                                         ไร่   ร้อยละ
                  1    Chp-slA  ชุดดินชุมพลบุรีที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน    3,665   3.05

                                0 - 2 เปอร์เซ็นต์
                  2    Chp-slB  ชุดดินชุมพลบุรีที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน    2,665   2.22
                                2 - 5 เปอร์เซ็นต์

                  3    Ht-slB   ชุดดินห้วยแถลงที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน   306   0.26
                                2 - 5 เปอร์เซ็นต์
                  4    Kg-lsB   ชุดดินค าบงที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน และมีความลาดชัน    16,216   13.51
                                2 - 5 เปอร์เซ็นต์

                  5    Lah-slA   ชุดดินละหานทรายที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน  4,289   3.57
                                0 - 2 เปอร์เซ็นต์
                  6    Msk-lsB  ชุดดินมหาสารคามที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน และมี   1,940   1.62

                                ความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54