Page 8 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยยาง อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                        จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง

               พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้าง
               พังทลายของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิต

               แ ล ะผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการปลูกพืชในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลาย
               ของดินต่างกัน จะเห็นว่า ภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลิตของแต่ละพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อท าการปลูกใน

               พื้นที่มีระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้นทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น

               อาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย
               นอกจากนี้ จะพบว่า ผลผลิตของทุกพืชมีปริมาณลดลงตามระดับความรุนแรงที่เพิ่มของการชะล้างพังทลาย

               ของดิน โดยเฉพาะข้าวเจ้านาปีและมันส าปะหลัง ในขณะการปลูกอ้อยผลผลิตไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามระดับ

               การชะล้างพังทลายของดิน








                   การก าหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อด าเนินกิจกรรม ประกอบการจัดท าแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับ
               สภาพปัญหาพื้นที่และความต้องการของชุมชน ด้วยการวิเคราะห์ล าดับความส าคัญ เป็นการก าหนดพื้นที่

               น าร่องโครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและ

               น้ า ลุ่มน้ าห้วยยาง อ าเภอศรีเทพ และอ าเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จากขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ าจ านวน
               150,116 ไร่ ในการคัดเลือกพื้นที่ด าเนินการ ปัจจัยหลักที่น ามาพิจารณา 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ระดับ

               ความรุนแรงของการชะล้าง 2) เอกสารสิทธิ์ 3) การใช้ที่ดิน 4) กิจกรรมที่เคยด าเนินงานในพื้นที่ 5)
               แผนปฏิบัติงานของพื้นที่ 6) ความต้องการของชุมชน พบว่า พื้นที่ที่มีความส าคัญล าดับต้น คือ หมู่ที่ 1 2 3 4

               และ 15 ต าบลนาสนุ่น ล าดับรองลงมา คือ หมู่ที่ 6 10 11 13 17 และ 18 ต าบลนาสนุ่น หมู่ที่ 5 และ 11

               ต าบลศรีเทพ หมู่ที่ 5 ต าบลนาสนุ่น และ หมู่ที่ 6 13 และ 16 ต าบลศรีเทพ ตามล าดับ เพื่อให้การ
               ด าเนินงานสอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของชุมชน สามารถน ามาจัดท าแผนการ

               ด าเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่ต่อปี ได้แก่ระยะที่ 1) ปี 2564

               ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1 2 3 4 และ 15 ต าบลนาสนุ่น จ านวน 13,480 ไร่ ระยะที่ 2) ปี 2565 ครอบคลุม
               พื้นที่ หมู่ที่ 6 10 11 13 17 และ 18 ต าบลนาสนุ่น จ านวน 16,973 ไร่ ระยะที่ 3) ปี 2566 ครอบคลุม

               พื้นที่ หมู่ที่ 5 และ 11 ต าบลศรีเทพ จ านวน 18,165 ไร่ และระยะที่ 4) ปี 2567 ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 5

               ต าบล นาสนุ่น หมู่ที่ 6 13 และ 16 ต าบลศรีเทพ จ านวน 15,877 ไร่ โดยก าหนดแนวทางและมาตรการที่มี
               ความสอดคล้องกับสภาพปัญหา แผนการใช้ที่ดิน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ดังนี้


               แบ่งตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ที่มีการชะล้างระดับรุนแรง และระดับปาน

               กลาง ก าหนดมาตรการ คือ การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ การยกร่องตามแนวระดับ การสร้างคัน
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13