Page 7 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยยาง อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   หมู่บ้าน สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร

                   และสถานีบริการน้ ามัน (2) พื้นที่เกษตรกรรมมีเนื้อที่ 124,464 ไร่ หรือร้อยละ 82.91 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า
                   ได้แก่ นาข้าว ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ ามัน ยูคาลิปตัส สัก สะเดา มะม่วง มะขาม

                   มะขามเทศ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โรงเรือนเลี้ยงโค กระบือ ม้า โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และสถานที่เพาะเลี้ยงปลา

                   (3) พื้นที่ป่าไม้ มีเนื้อที่ 16,108 ไร่ หรือร้อยละ 10.73 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ ป่าผลัด
                   ใบรอสภาพฟื้นฟู ป่าผลัดใบสมบูรณ์ และป่าปลูกสมบูรณ์ (4) พื้นที่น้ า มีเนื้อที่ 1,458 ไร่ หรือร้อยละ 0.97

                   ของเนื้อที่ลุ่มน้ า และ (5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 1,859 ไร่ หรือร้อยละ 1.24 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า ได้แก่ ทุ่ง
                   หญ้าสลับไม้พุ่ม/ไม้ละเมาะ บ่อดิน พื้นที่ขุดเจาะน้ ามัน ตามล าดับ





                           พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อย โดยมีปริมาณการ
                   สูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 79.39 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า โดยพบการกระจายตัว

                   อยู่ทั่วลุ่มน้ าห้วยยาง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันอยู่ในช่วง 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะสภาพ

                   พื้นที่เป็นแบบราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เมื่อพิจารณาประเภทการใช้ที่ดินเป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ และ
                   มีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการปลูกข้าว อ้อย และยูคาลิปตัส ซึ่งหากมีปัญหาการชะล้างพังทลายควร

                   ได้รับการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตและผลผลิตของเกษตรกร อีกทั้งลดต้นทุนการผลิต

                   ที่สูญหายไปกับการชะล้างของผิวหน้าดินที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิ
                   ประเทศแบบเนินเขาแบบสูงชันและแบบสูงชันมากจะท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินที่มีความรุนแรง

                   ของการชะล้างพังทลายในระดับรุนแรง โดยก่อให้เกิดปริมาณการสูญเสียดินมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี โดย
                   พื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกมันส าปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกัน

                   และหยุดการชะล้างพังทลายของดินอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความรุนแรงของการสูญเสียดินระดับ
                   ปานกลางถึงระดับรุนแรงนั้น ควรมีมาตรการในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมส าหรับแต่ละ

                   พื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บางแห่งที่มีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมเนื่องจากพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ควร

                   ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินให้เหมาะสม และวิธีการจัดการดินมีความเป็นไปได้จริง เป็นวิธีการที่สะดวก และ
                   เสียค่าใช้จ่ายน้อยไม่ต้องใช้แรงงานมาก และสอดคล้องตามความต้องการของชุมชน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึง

                   การคาดคะเนการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่และแต่ละระดับ แม้กระทั่งในพื้นที่ที่มีการชะล้าง

                   พังทลายในระดับน้อยซึ่งมีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการใช้มาตรการ
                   อนุรักษ์ดินและน้ า การจัดการดิน และการปรับปรุงบ ารุงดินที่เหมาะสม ซึ่งหากมีการละเลยหรือมีการ

                   จัดการที่ไม่เหมาะสม และถูกต้องตามหลักวิชาการ อาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งท าให้เกิดปัญหา

                   การสูญเสียดิน รวมทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า
                   ปุ๋ย ท าให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12