Page 31 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยยาง อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                             13


                             2) ข้อมูลทรัพยากรดินปัญหา
                                การจัดท าข้อมูลและแผนที่ดินปัญหาหรือสภาพปัญหาดินทางการเกษตร มาตราส่วน

                   1 : 25,000 ในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยยาง อ าเภอศรีเทพ และอ าเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามขั้นตอน ดังนี้

                                (1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลดินเพื่อการจ าแนกตามลักษณะและสมบัติดินประจ าชุดดิน
                   จ าแนกประเภทและความรุนแรงของดินปัญหาต่อการผลิตพืช ตามปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติและ

                   จากการใช้ที่ดิน รวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจ ากัดทางการเกษตร
                                (2) การจัดท าแผนที่ดินปัญหาและประเมินความรุนแรงของดินปัญหาในพื้นที่ด าเนินการ

                   เพื่อน าไปใช้ในแก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รวมถึงก าหนดมาตรการด้านการ

                   อนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อการใช้ที่ดินทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน




                             การประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ า ส าหรับน าไปใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน

                   จัดท าแผนการใช้ที่ดิน ก าหนดมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ า การ
                   ประเมินปริมาณน้ าผิวดินที่ไหลจากพื้นผิวดินสู่ร่องน้ า ล าห้วย คลองและแม่น้ า โดยอาศัยการค านวณจาก

                   ปริมาณน้ าฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่หนึ่ง ๆ แล้วถูกดูดซับลงไปเก็บกักไว้ในดิน และระเหยไปในอากาศ น้ าที่

                   เหลือจากกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ จะไหลลงสู่ร่องน้ า ล าห้วย คลองและแม่น้ าต่อไป อัตราการไหลและ
                   ปริมาณน้ าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรง ปริมาณน้ า ทิศทางลม ลักษณะความลาดเทของ

                   พื้นที่ ประสิทธิภาพการเก็บกักน้ าบนผิวดิน การใช้ที่ดิน สมบัติของดิน และขนาดของพื้นที่รับน้ า ทั้งนี้
                   เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่สอดคล้องกับหลักการส าคัญของการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เป็นการรักษาความชุ่มชื้นใน

                   ดิน การเก็บกักน้ าไหลบ่าบนผิวดินไว้ใช้ในพื้นที่ที่เพื่อประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของพื้นที่บริเวณนั้น ๆ

                   ในขณะเดียวกันจะต้องระบายน้ าส่วนเกินทิ้งไปในพื้นที่ที่ควบคุมได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่
                   โดยเฉพาะการกัดเซาะพังทลายของดิน จึงประเมินปริมาณน้ าไหลบ่าและอัตราของน้ าไหลบ่าสูงสุด ดังนี้

                         ปริมาณน้้าไหลบ่า (Q) ประเมินได้จากสูตร
                                         Q = CIA   (ลูกบาศก์เมตร)

                                         C = สัมประสิทธิ์ของน้ าไหลบ่า (ก+ข+ค+ง+จ)

                                         I  = ปริมาณของน้ าฝน (มิลลิเมตรต่อปี)
                                         A = พื้นที่ของบริเวณรับน้ า (เฮกแตร์)

                         อัตราของน้้าไหลบ่าสูงสุด (q) ประเมินได้จากสูตร

                                         q =         CiA        (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)

                                                  360 x 6.25

                                         C = สัมประสิทธิ์ของน้ าไหลบ่า (ก+ข+ค+ง+จ)

                                         i  = ความรุนแรงของน้ าฝน (มิลลิเมตรต่อชั่วโมง) (70 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง)

                                         A = พื้นที่ของบริเวณรับน้ า (ไร่)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36