Page 73 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          57



               ตารางที่ 3-13  ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน พื้นที่ลุ่มน้ าคลองกุย อ าเภอกุยบุรี และ

                              อ าเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                                                    อัตราการสูญเสียดิน              เนื้อที่
                        ระดับความรุนแรง
                                                        (ตัน/ไร่/ปี)           ไร่         ร้อยละ

                      น้อย                                 0-2                 267,380        80.88
                      ปานกลาง                              2-5                   31,010        9.38

                      รุนแรง                              5-15                   19,120        5.78

                      รุนแรงมาก                           15-20                      738       0.23
                      รุนแรงมากที่สุด                    มากว่า 20               12,335        3.73

                                     รวมเนื้อที่ทั้งหมด                         330,583      100.00


                    จากผลการศึกษา จะเห็นว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับน้อย โดยมี

               ปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมเนื้อที่คิดเป็นร้อยละ 80.88 ของเนื้อที่ลุ่มน้ า โดย
               พบกระจายตัวอยู่ในต าบลหาดขาม อ าเภอกุยบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันอยู่ในช่วง

               0-12 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะสภาพพื้นที่เป็นแบบราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ลูกคลื่นลอดลาดเล็กน้อย

               และลูกคลื่นลอนลาดบางส่วน เมื่อพิจารณาประเภทการใช้ที่ดินเป็นป่าไม่ผลัดใบสมบูรณ์ ป่าผลัดใบรอ
               สภาพฟื้นฟู และป่าผลัดใบสมบูรณ์ และมีการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการปลูกสับปะรด ยางพารา และ

               ปาล์มน้ ามัน ซึ่งหากมีปัญหาการชะล้างพังทลายควรได้รับการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการ
               ผลิตและผลผลิตของเกษตรกร อีกทั้งลดต้นทุนการผลิตที่สูญหายไปกับการชะล้างของผิวหน้าดินที่อาจ

               เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแบบเนินเขาแบบสูงชันและแบบสูงชันมาก

               จะเกิดการชะล้างพังทลายของดินที่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยก่อให้เกิดปริมาณการสูญเสียดินมากกว่า
               20 ตันต่อไร่ต่อปี โดยพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นสับปะรด

                    ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและหยุดการชะล้างพังทลายของดินอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความ

               รุนแรงของการสูญเสียดินปานกลางถึงรุนแรงมากที่สุดนั้น ควรมีมาตรการในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและ
               น้ าที่เหมาะสมสาหรับแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บางแห่งที่มีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจาก

               พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ควรปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินให้เหมาะสม และวิธีการจัดการมีความเป็นไปได้จริง
               วิธีการที่สะดวก และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องใช้แรงงานมาก และสอดคล้องตามความต้องการของชุมชน

               ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการคาดคะเนการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่และแต่ละระดับ แม้กระทั้งใน

               พื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายในระดับน้อยซึ่งมีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งไม่ควรเพิกเฉย
               ต่อการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และมีจัดการปรับปรุงดินที่เหมาะสม ซึ่งหากมีการละเลยหรือมีการ

               จัดการที่ไม่เหมาะสม และถูกต้องตามหลักวิชาการอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดปัญหาต่อการ
               สูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต และส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า ปุ๋ย ท าให้

               เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78