Page 33 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          17



               มาตรการระบบอนุรักษ์ดินและน้ า รายละเอียดแต่ละปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                    1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฝน (erosivity factor: R) เป็นค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ ของเม็ด
               ฝนที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับปริมาณความหนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธ์นี้ได้มีผู้

               ศึกษาและน ามาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง (มนูและคณะ, 2527 และ Kunta, 2009) ในการศึกษานี้ได้น า

               ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝนสอดคล้อง ตามวิธีการของ Wischmeier (กรมพัฒนา
               ที่ดิน, 2545; มนูและคณะ, 2527) มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปี (average annual

               rainfall) ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2559-2562) ได้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฝนส าหรับพื้นที่โครงการฯ
                    2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดิน (erodibility factor: K) เป็นค่าความคงทนของดิน

               ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายที่แตกต่างกัน สอดคล้อง

               ตามหลักการของ Wischmeier นั้น สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดินนี้จากภาพ
               Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการคือ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละของทรายแป้ง

               และปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก (2) ปริมาณร้อยละของทราย (3) ปริมาณ ร้อยละของ
               อินทรียวัตถุในดิน (4) โครงสร้างของดิน และ (5) การซาบซึมน้ าของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ได้มี

               การศึกษาปัจจัยดังกล่าวและให้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดินสอดคล้องตามสมการการสูญเสีย

               ดินสากล
                    3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ (slope length and slope steepness factor: LS)

               เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลาดชัน และความยาวของความลาดชัน ตามปกติแล้วค่า การชะล้าง

               พังทลายของดินนั้นจะแปรผันตรงกับความลาดชันสูงและความยาวของความลาดชันใน การศึกษานี้ได้ใช้
               ข้อมูลความสูงจากแบบจ าลองระดับความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model, DEM) โดยค านวณทั้ง

               สองปัจจัยสอดคล้องกับการศึกษาของ (Hickey et al., 1994)
                    4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพืช (crop management factor: C) เป็นปัจจัยที่ เกี่ยวข้อง

               กับพืชคลุมดิน ซึ่งพืชแต่ละชนิดย่อมมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

               ความสูงของต้นลักษณะพุ่มหรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้น ๆ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีพืชปกคลุมดิน
               นั้นค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพืชนี้จะมีค่ามากที่สุดในที่นี้ คือ 1.00 ส่วนกรณีที่พืชปกคลุมดิน

               สามารถต้านทานการชะล้างพังทลายของดินได้ดีจะให้ค่าปัจจัยนี้น้อย นอกจากนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
               จัดการพืชนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้นมีผลต่อการ

               เจริญเติบโตของพืช

                    5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า (conservation factor: P) เป็นปัจจัยที่แสดงถึง
               มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่นั้น ๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (contouring) การปลูกพืชสลับ

               ขวางความลาดเอียง (strip cropping) การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีคันนา เป็นต้น ในที่นี้ใช้ค่าตามการศึกษา

               ของกรมพัฒนาที่ดิน (2545) จากค่าปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนั้นสามารถน ามาค านวณการสูญเสียดินสอดคล้อง
               ตามสมการการสูญเสียดินสากลได้บนฐานข้อมูลแบบราสเตอร์ (raster) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

               จากผลการค านวณค่าการสูญเสียดินนั้นสามารถน ามาจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินท าให้ทราบถึง
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38