Page 32 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองกุย อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             16





                             (3) การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิต ได้แก่
                                - การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนผันแปร และต้นทุน

                   คงที่ โดยมีวิธีการค านวณต้นทุน ดังนี้

                                        ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่
                                ต้นทุนผันแปรเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการ

                   ผลิต ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ เกษตรกรสามารถเพิ่มหรือลดได้ในช่วงระยะเวลาการผลิตพืช เช่น ค่าพันธุ์ ค่า
                   ปุ๋ย ค่าแรงงานคน ค่าแรงงานเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร และค่าขนส่งผลผลิต เป็นต้น

                                ต้นทุนคงที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรถึงแม้จะไม่ได้ท าการผลิตพืช เนื่องจาก

                   ค่าใช้จ่ายประเภทนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตพืช เช่น ค่าเช่าที่ดินที่ใช้ในการปลูกพืช ค่า
                   ภาษีที่ดินซึ่งต้องเสียทุกปี ไม่ว่าที่ดินผืนนั้นจะใช้ประโยชน์ในปีนั้น ๆ หรือไม่ก็ตาม

                                - การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน มีวิธีการค านวณ ดังนี้

                          ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตทั้งหมดกับต้นทุนทั้งหมด

                                - อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C Ratio) เป็นการ

                   วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนว่าควรจะลงทุน ในการผลิตหรือไม่

                   เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของผลตอบแทน กับต้นทุนทั้งหมดตลอด
                   ช่วงปีที่ท าการผลิต โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใด ๆ คือ B/C Ratio ที่มีค่า

                   มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถ้า B/C Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตพืช

                   มากกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไป หรือถ้า B/C Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับ
                   จากการผลิตพืชเท่ากับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไปพอดี






                       การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่โครงการฯ โดยอาศัยสมการการสูญเสียดินสากล

                   (Universal Soil Loss Equation, USLE) (Wischmeier and Smith, 1965) ซึ่งสมการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา
                   เพื่อใช้ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตรและเป็นการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากการ

                   กระท าของน้ าไม่รวมถึงการชะล้างพังทลายที่เกิดจากลมดังสมการ

                                                  A =      R K LS C P                                  (3)


                       สมการดังกล่าวพิจารณาการชะล้างพังทลายของดินจากการตกกระทบของเม็ดฝน (raindrop
                   erosion) และแบบแผ่น (sheet erosion) ไม่ครอบคลุมถึงการชะล้างพังทลายแบบริ้ว (rill erosion) และ

                   แบบร่อง (gully erosion) (Wischmeier and Smith, 1965) ซึ่งปัจจัยที่น ามาพิจารณาในสมการ ได้แก่
                   ปริมาณน้ าฝน ความแรงของน้ าฝน ลักษณะของดิน ลักษณะของพืชคลุมดิน สภาพของพื้นที่ และ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37