Page 96 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 96

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                          66


                     จากการศึกษาจะเห็นว่า ถึงแม้ว่าพื้นที่ของโครงการฯ ลุ่มน้ าห้วยศาลจอดมีค่าการสูญเสียดินเพียง

               เล็กน้อยท าให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่รู้สึกถึงปัญหาการชะล้างมากเท่ากับปัญหาน้ าท่วมและภัยแล้ง เกษตรกร
               เพิกเฉยต่อปัญหาการชะล้าง ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งและเป็นภัยมืดที่คุกคามต่อทรัพยากรดินไปเรื่อย ๆ

               ในระยะยาวจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินจะต่ าลงมาก ปลูกพืชเศรษฐกิจต่อไร่ก็จะต่ าลงด้วย

               ซึ่งจ าเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารโดยการซื้อปุ๋ยเคมีจ านวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทางเดียวกันการชะล้างที่เล็กน้อย
               ซึ่งเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีการป้องกันแก้ไขจะส่งผลกระทบต่อทางน้ าซึ่งค่อย ๆ ตื้นเขิน ตั้งแต่ล าห้วยย่อย

               จนถึงล าห้วยศาลจอดซึ่งเป็นล าห้วยหลัก ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณของโครงการใน
               ฤดูฝนหลายพื้นที่ของลุ่มน้ าจะมีปัญหาน้ าท่วมเอ่อตามล าห้วยนานนับเดือนสร้างความเสียหายต่อพืชที่ปลูก

               โดยเฉพาะนาข้าวทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่ต าบลโคกสีซึ่งเป็นส่วนปลายของลุ่มน้ า

                     จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งถึงแม้ลุ่มน้ าห้วยศาลจอดบริเวณโครงการฯ มีความรุนแรงของ
               การชะล้างอยู่ในระดับเพียงเล็กน้อย(0 – 2 ตัน/ไร่/ปี) แต่ไม่ควรเพิกเฉยต่อการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและ

               น้ าและมีการจัดการปรับปรุงดินที่เหมาะสม ซึ่งหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมและถูกต้อง
               ตามหลักวิชาการอาจส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียดินและคุณภาพการผลิต ท าให้

               ต้นทุนการผลิตการจัดการดิน น าปุ๋ย ท าให้เกษตรกรในพื้นที่ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น สุดท้ายภาครัฐ

               ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อขุดลอกห้วยที่ตื้นเขินดังกล่างอยู่เรื่อย ๆ





                     การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ได้ท าการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิในเชิงสังคมและเศรษฐกิจใน

               ระดับต าบล จากข้อมูลความจ าเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน กชช. 2ค ปี 2562 ของกรมการ

               พัฒนาชุมชน และเอกสารจากหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เกษตรกร
               ในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด ประกอบด้วย ต าบลสว่างแดนดิน ต าบลบ้านถ่อน ต าบลโพนสูง และต าบลโคกสี

               ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้ (ตารางที่ 3-16)

                     1) สภาพทั่วไป


                        จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ประชากรของพื้นที่ลุ่มน้ าเฉลี่ย 8,540.75 คนต่อต าบล เป็นเพศหญิง
               มากกว่าเพศชาย โดยมีจ านวนครัวเรือนเฉลี่ย 2,675.00 ครัวเรือนต่อต าบล ท าให้มีประชากรเฉลี่ย 3.19

               คนต่อครัวเรือน จัดเป็นครัวเรือนขนาดเล็ก ซึ่งต าบลที่มีประชากรและจ านวนครัวเรือนสูงสุด คือ
               ต าบลสว่างแดนดิน รองลงมาเป็นต าบลโคกสี ต าบลบ้านถ่อน และต าบลโพนสูง ตามล าดับ นอกจากนี้ยังมี

               การรวมกลุ่มของเกษตรกร มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร

               การคมนาคม) มีสถานบริการสาธารณะ (ศาสนสถาน โรงเรียน ศูนย์สาธารณสุข ลานกีฬา สถานที่พักผ่อน)
               และหน่วยธุรกิจครบถ้วนทุกต าบล แต่มีจ านวนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และจ านวนประชากร
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101