Page 8 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ต้นแบบการบริหารจัดการทรัพยากรดินและน้ าเชิงบูรณาการ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
เป็นรูปแบบการบริหารจัดการลุ่มน้ าเชิงระบบ ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม ได้แก่ มิติทางกายภาพ สังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยก าหนดทิศทางจากสภาพปัญหาเป็นตัวน า ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย
สาขาผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์จากงานวิจัย และเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและ
น้ า ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่ คัดเลือก
วิธีการประเมินปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน และตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันครอบคลุมประเด็น
ปัญหาของสภาพพื้นที่อย่างแท้จริง ได้แก่ ข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ข้อมูลด้านทรัพยากรดิน ข้อมูล
สภาพการใช้ที่ดิน ระดับการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน ข้อมูลด้านทรัพยากรน้ า สภาพภูมิประเทศ และ
สิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม
โดยน าข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์และจัดท าแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
และฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ทั้งนี้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
ถูกต้องตามสมรรถนะและศักยภาพของที่ดิน และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เกิดความตระหนักและการเรียนรู้
น าไปสู่การจัดการที่ถูกต้อง พร้อมทั้งการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง โดยการติดตามและ
ประเมินผลตามตัวชี้วัด เพื่อให้ทราบผลส าเร็จจากการด าเนินงานด้านการลดอัตราการชะล้างพังทลายของ
ดิน และด้านเศรษฐกิจสังคมของชุมชนบริเวณบนพื้นที่ลุ่มน้ าสู่การพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการ
อนุรักษ์ดินและน้ า ให้เกษตรกรและชุมชนสามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน
การด าเนินงานตามแผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม
ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า มีกลไกการขับเคลื่อนการด าเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการและ
คณะท างาน ในการจัดท าต้นแบบแผนการบริหารจัดการโครงการจัดการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟู
พื้นที่เกษตรกรรม ด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ส าหรับขับเคลื่อนการด าเนินงานด้านการอนุรักษ์ดินและ
น้ าให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผน
แม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า ดังนั้น เพื่อให้แผนบริหารจัดการเกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ บรรลุ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ก าหนดไว้ จึงจ าเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและผลักดันจากทุกภาคส่วน และ
ให้เกิดการบูรณาการทุกระดับผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรดินและน้ ามี
เป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีแนวทางการด าเนินงาน ดังนี้
เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม ให้สามารถน าไปสู่การวางแผน การ