Page 6 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               ต าบลโคกสี ต าโพนสูง ต าบลสว่างแดนดิน และต าบลบ้านถ่อน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีร่องรอยของการกัด

               เซาะของน้ าให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียงกับล าห้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าพื้นที่ของโครงการฯ ลุ่มน้ า
               ห้วยศาลจอด มีค่าการสูญเสียดินเพียงเล็กน้อยท าให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาการชะล้างมาก

               เท่ากับปัญหาน้ าท่วมและภัยแล้ง และเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าวซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งและเป็นภัยมืด

               ที่คุกคามต่อทรัพยากรดินไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินจะต่ าลงมาก ผลผลิต
               พืชเศรษฐกิจต่อไร่ก็จะต่ าลงด้วย ซึ่งจ าเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารโดยการซื้อปุ๋ยเคมีจ านวนมากขึ้นเรื่อยๆ

               ในทางเดียวกันการชะล้างที่เล็กน้อยซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการป้องกันแก้ไขจะส่งผลกระทบต่อ
               ทางน้ าซึ่งค่อย ๆ ตื้นเขิน ตั้งแต่ล าห้วยย่อย จนถึงล าห้วยศาลจอดซึ่งเป็นล าห้วยหลัก ซึ่งสภาพดังกล่าวสา

               มารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณของโครงการในฤดูฝนหลายพื้นที่ของลุ่มน้ าจะมีปัญหาน้ าท่วมเอ่อตามล าห้วย

               นานนับเดือนสร้างความเสียหายต่อพืชที่ปลูกโดยเฉพาะนาข้าวทุกปี ในพื้นที่ต าบลโคกสีซึ่งเป็นส่วนปลาย
               ของลุ่มน้ า

                         เมื่อพิจารณาถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในแต่ละพื้นที่ ถึงแม้ในพื้นที่ที่มี
               การชะล้างพังทลายในระดับน้อย มีปริมาณการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการ

               ใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และหากมีการละเลยหรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตามหลัก

               วิชาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการสูญเสียดิน ปริมาณและคุณภาพผลผลิต และ
               ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต การจัดการดิน น้ า ปุ๋ย จนส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

               ตามไปด้วย




                           จากการศึกษาข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการชะล้าง

               พังทลายของดิน พบว่า เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการชะล้าง
               พังทลายของดินในแต่ละวิธีการมากน้อยแตกต่างกันโดยพบว่า 3 อันดับแรกที่เกษตรมีความรู้ คือการปลูก

               หญ้าแฝกขวางทางลาดชัน การใช้วัสดุต่างๆอย่างง่าย (เช่นท่อนไม้ หิน กระสอบบรรจุทราย อิฐฯ) ก่อสร้าง

               ขวางทางระบายน้ าเพื่อชะลอความเร็วของน้ าไม่ให้กัดเซาะ และการท าฝายน้ าล้นหรือคันชะลอความเร็ว
               ของน้ า ทั้งนี้เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิตและผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของ

               การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินต่างกัน จะเห็นว่า ต้นทุนการผลิตของแต่ละพืชไม่

               ว่าจะเป็นข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และอ้อย มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลาย
               ของดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวนาปี ซึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลง

               ต้นทุนผันแปรในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย นอกจากนี้ยังพบว่า ผลผลิตของทั้งข้าว

               นาปี ข้าวนาปรัง และอ้อย ลดลงตามความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะข้าวเหนียวนา
               ปรัง ในขณะที่ผลผลิตมันส าปะหลัง และยางพารา มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับความรุนแรงของการชะล้าง

               พังทลายของดินที่เพิ่มขึ้นส่วนต้นทุนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11