Page 5 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 5
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
จากการศึกษาและส ารวจข้อมูลดินในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด อ าเภอสว่างแดนดิน จังหวัด
สกลนคร เพื่อจัดท าฐานข้อมูลและประเมินสถานภาพทรัพยากรดิน โดยเน้นด้านการชะล้างพังทลายของ
ดิน ทั้งนี้เพื่อน าไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการใช้ที่ดินด้านการเกษตร และก าหนดมาตรการเพื่อป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม ผลการจ าแนกสภาพปัญหาของดินหรือข้อจ ากัด
ต่อการใช้ที่ดินด้านการเกษตร แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ (1) ดินตื้น เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต
ของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ครอบคลุมเนื้อที่รวม 27,897 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 28.60 (2) ดินมี
ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ครอบคลุมเนื้อที่รวม 55,142 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 57.53 ของเนื้อที่ทั้งหมด
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การใช้ที่ดิน ทรัพยากรดิน และข้อมูล
สภาพภูมิอากาศ พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด อ าเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ 153.35
ตารางกิโลเมตร (95,844 ไร่ ) มีปริมาณน้ าท่าคิดเป็น 81.11 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้ า
ที่สามารถเก็บกักน้ าไว้ใช้เพื่อการเกษตรได้ในปริมาณมากเพียงพอ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.
2553 (68,240 ไร่) โดยมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4,273 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.26 ของเนื้อที่เดิม
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ และการเพิ่มขึ้นของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ท าให้
มีความต้องการสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ที่ดินส าหรับพืชไร่ ซึ่งมีพื้นที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในปี
พ.ศ. 2562 ถึงร้อยละ 189.2 ของเนื้อที่เดิม (พ.ศ.2553) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมันส าปะหลัง อ้อย และพื้นที่ไม้
ยืนต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98 ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวลดลงร้อยละ 10.43 และมีพื้นที่อื่น ๆ ลดลง เช่น ทุ่งหญ้า
เลี้ยงสัตว์ และการท าเกษตรผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม
พื้นที่ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของการชะล้างพังทลายในระดับน้อย โดยมีปริมาณการสูญเสีย
ดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี โดยครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100 ของเนื้อที่ทั้งหมด และในพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศ
เป็นที่ราบและลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย แต่หากวิเคราะห์จากลุ่มน้ าห้วยย่อยๆ ซึ่งเป็นสาขาที่ไหลสู่ห้วย
ศาลจอด พบความแตกต่างของการสูญเสียดิน เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีการสูญเสียดินระหว่าง 0–1 ตัน
ต่อไร่ต่อปี ซึ่งมีเนื้อที่ 41,655 ไร่ ซึ่งพบในบริเวณบางส่วนของ ต าบลโพนสูง ต าบลบ้านถ่อน และต าบล
สว่างแดนดิน โดยพื้นที่ดังกล่าวจากการส ารวจในพื้นที่แทบไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะของน้ า ส าหรับ
กลุ่มที่ 2 มีการสูญเสียดินระหว่าง 1–2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งมีเนื้อที่ 54,189 ไร่ พบในบริเวณบางส่วนของ