Page 62 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                             41


                       สภาพปัญหาและข้อจ้ากัดของดิน

                       สภาพปัญหาและข้อจ ากัดของดินในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด ส่วนใหญ่เป็นดินตื้นมีกรวดลูกรังและ
                   เนื้อดินปนเศษหิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ าและการชะล้างพังทลายของดิน

                   โดยแยกเป็น 2ประเภทหลัก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561) ซึ่งพบการกระจายตัวในพื้นที่ต่าง ๆ (ตารางที่ 3-4

                   ภาพที่ 3-5) โดยมีรายละเอียด พอสังเขปดังนี้
                       1) ปัญหาดินตื้น

                          เป็นดินที่เป็นชั้นดินหนาประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนใหญ่ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ปนทราย
                   บางส่วนปนกรวดลูกรัง ชั้นถัดไปเป็นชั้นดินมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายปน

                   กรวด มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 โดยปริมาตร ภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน จากลักษณะ

                   ของดินดังกล่าวถือเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืชด้านการชอนไชของรากพืช ท าให้การเกาะยึดตัว
                   ของดินไม่ดี ยากแก่การไถพรวน เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย สภาพปัญหานี้พบครอบคลุมเนื้อที่รวม

                   27,897ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 28.60 ของเนื้อที่ทั้งหมด แบ่งดินตื้นออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                          (1) ดินตื้นในพื้นที่ดอนถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่

                   ต าบลโคกสี ต าบลโพนสูง ต าบลบ้านถ่อน และต าบลสว่างแดนดิน มีเนื้อที่ 26,880ไร่ หรือร้อยละ 27.54

                   ของเนื้อที่ทั้งหมด
                          (2) ปัญหาดินตื้นในพื้นที่ลุ่ม มีการระบายน้ าเลว ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต าบลโพนสูง

                   อ าเภอสว่างแดนดินมีเนื้อที่ 1,017 ไร่ หรือร้อยละ 1.06 ของเนื้อที่ทั้งหมด

                       2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า
                          เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในประเทศไทยนั้น กรมพัฒนาที่ดิน

                   ใช้เกณฑ์การประเมินจากค่าวิเคราะห์ดิน 5 รายการ คือ ร้อยละปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่
                   เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และอัตราร้อยละความ

                   อิ่มตัวเบส ซึ่งแต่ละรายการจะมีเกณฑ์ประเมินเป็นค่าสูง ปานกลาง ต่ า เนื่องจากสภาพทางธรรมชาติ โดย

                   ดินมีวัตถุต้นก าเนิดดินที่มีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติต่ า ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่อง
                   ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุงบ ารุงดินเท่าที่ควร ท าให้ดินเสื่อมโทรม ความอุดมสมบูรณ์

                   ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลิตตกต่ า คุณภาพไม่ดี สภาพปัญหานี้พบกระจาย
                   ครอบคลุมเนื้อที่รวม 55,142 ไร่ หรือร้อยละ 57.53ของเนื้อที่ทั้งหมด และสามารถแบ่งตามสภาพพื้นที่ คือ

                          (1) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ลุ่มที่ไม่มีกรด ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ บริเวณติด

                   ล าห้วยตามเส้นลุ่มน้ าหลักตั้งแต่ทิศใต้ไปทิศเหนือตลอดแนวล าน้ าห้วยศาลจอด บริเวณทางเข้าน้ า ต าบล
                   สว่างแดนดิน ต าบลโพนสูง ต าบลบ้านถ่อน ไปถึง ต าบลโคกสีทางออกของล าห้วย มีเนื้อที่ 18,761ไร่ หรือ

                   ร้อยละ19.57 ของเนื้อที่ทั้งหมด

                          (2) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ลุ่มที่เป็นกรด ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่บริเวณ
                   ต าบลโพนสูง ต าบลบ้านถ่อน และต าบลสว่างแดนดิน มีเนื้อที่ 2,033ไร่ หรือร้อยละ 2.12 ของเนื้อที่ทั้งหมด
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67