Page 46 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 46
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
ตารางที่ 3.1 ความลาดชัน พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
เนื้อที่
ความลาดชัน
ไร่ ร้อยละ
ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ 90,211 84.15
ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ 13,261 12.37
ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ 3,549 3.31
ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ 182 0.17
รวม 107,203 100.00
พื้นที่ลุ่มน้ าห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา อยู่บริเวณตอนบนของจังหวัดนครราชสีมา ได้รับอิทธิพล
ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่น
พัดผ่านมาจากทะเลจีนใต้เข้ามาเป็นครั้งคราว ส่งผลท าให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ได้แก่ ฤดูฝนจะเกิดในช่วง
เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวจะเกิดในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์และฤดูร้อน
จะเกิดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยา โดยสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา อ าเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่ ดังนี้ (ตารางที่ 3-2)
อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.7 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 36.7
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ าสุดในเดือนมกราคม 19.1 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ าฝน มีปริมาณน้ าฝนรวมตลอดปี 1,092.6 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ าฝนสูงสุด
ในเดือนกันยายน 230.3 มิลลิเมตร และปริมาณน้ าฝนต่ าสุดในเดือนธันวาคม 2.8 มิลลิเมตร
ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 70.8 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดใน
เดือนกันยายน 81.0 เปอร์เซ็นต์ และต่ าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 62.0 เปอร์เซ็นต์
การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูก จากการวิเคราะห์สถานการณ์สมดุลของน้ า เพื่อการเกษตรด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายเดือน และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าเฉลี่ยรายเดือน
(Evapotranspiration : ETo) ซึ่งค านวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows Version 8.0
โดยพิจารณาจากช่วงระยะที่น้ าฝนอยู่ที่เหนือระดับเส้น 0.5 ของค่าศักยภาพการคายระเหยน้ า (0.5 ETo)
เป็นหลัก (รูปที่ 3-3) พบว่า ระยะเวลาในการปลูกพืชที่เหมาะสมกับจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในช่วงปลาย
เดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน