Page 32 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          18


               จัดการพืชนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้นมีผลต่อการ

               เจริญเติบโตของพืช
                     5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า (conservation factor: P) เป็นปัจจัยที่แสดงถึง

               มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่นั้น ๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (contouring) การปลูกพืชสลับ

               ขวางความลาดเอียง (strip cropping) การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีคันนาเป็นต้น ในที่นี้ใช้ค่าตามการศึกษาของ
               กรมพัฒนาที่ดิน (2545) จากค่าปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนั้น สามารถน ามาค านวณการสูญเสียดินสอดคล้องตาม

               สมการการสูญเสียดินสากลได้บนฐานข้อมูลแบบราสเตอร์ (raster) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
               จากผลการค านวณค่าการสูญเสียดินนั้น สามารถน ามาจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินท าให้ทราบถึง

               ขอบเขตของพื้นที่มีปัญหา เนื่องจากการสูญเสียดินเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ าใน

               พื้นที่ต่อไป

               ตารางที่ 2-1  ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน

                          ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลาย               ค่าการสูญเสียดิน (ตัน/ไร่/ปี)

                     น้อย                                                            0-2

                     ปานกลาง                                                       02-May
                     รุนแรง                                                        May-15

                     รุนแรงมาก                                                      15-20
                     รุนแรงมากที่สุด                                              มากกว่า 20


               ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2545)



               ตารางที่ 2-2  ชั้นของการกัดกร่อน (degree of erosion classes)

                                                                                  การสูญเสียของชั้นดิน
                       สัญลักษณ์                        ชื่อเรียก
                                                                                         (%)
                     E0                  ไม่มีการกร่อน (non eroded)                       0

                     E1                  กร่อนเล็กน้อย (slightly eroded)                 0 - < 25

                     E2                  กร่อนปานกลาง (medium eroded)                  25 - 75
                     E3                  กร่อนรุนแรง (severe erosion)                >75 - <100

                     E4                  กร่อนรุนแรงมาก (very severe erosion)            100

               ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2551)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37