Page 33 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             19





                        การจัดท าแผนการใช้ที่ดิน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางภูมิสารสนเทศ (Geographic
                   Information System: GIS) เพื่อจัดท าแผนการใช้ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ า โดย การประมวลผล

                   ข้อมูลทางกายภาพได้แก่ ประเภทการใช้ที่ดิน การประเมินคุณภาพลุ่มน้ า สภาพภูมิอากาศ สภาพ

                   เศรษฐกิจและสังคม ดังนี้



                              วิเคราะห์ประเภทการใช้ที่ดิน จากชนิดของพืช ลักษณะการด าเนินงาน และสภาพการผลิตใน

                   การใช้ที่ดินทั้งทางด้านกายภาพและสภาพเศรษฐกิจสังคม ซึ่งได้แก่ รูปแบบการผลิต การเขตกรรม การ
                   จัดการ เงินทุน และขนาดของกิจการ เป็นต้น โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกประเภทการใช้

                   ที่ดินที่เหมาะสม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2562) กับความต้องการการผลิตพืชของเกษตรกรในท้องถิ่นนั้น

                   การคัดเลือกประเภทการใช้ที่ดินมีวิธีการโดยวิเคราะห์ข้อมูลดินร่วมกับข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินมาจัดท า
                   หน่วยที่ดิน หลังจากนั้นถึงดาเนินการเก็บข้อมูลตามเนื้อที่สภาพการใช้ที่ดินที่มีมากที่สุดในลุ่มน้ า




                              การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยที่ดินต่อการใช้
                   ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี

                   กรมพัฒนาที่ดินเลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินตามหลักการของ FAO Framework ซึ่งมีจ านวน 2

                   รูปแบบ แต่ในการประเมินคุณภาพที่ดินเบื้องต้นจะท าการประเมินเพียงด้านเดียว คือ การประเมิน
                   ทางด้านคุณภาพ เป็นการประเมินเชิงกายภาพว่าที่ดินนั้น ๆ มีความเหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการ

                   ใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ โดยศึกษาการประเมินคุณภาพดินร่วมกับประเภทการใช้ที่ดินที่ได้ก าหนดเป็น

                   ตัวแทนการเกษตรกรรมหลักในลุ่มน้ า การวิเคราะห์ได้ค านึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชใน
                   แต่ละด้านของดินที่แตกต่างกัน โดยอาศัยคุณลักษณะดินที่แตกต่างกันไปตามวัตถุต้นก าเนิดของดิน ซึ่ง

                   คุณลักษณะที่ดินที่ใช้ในการแสดงค่าเพื่อวัดระดับการเจริญเติบโตแตกต่างกัน
                              คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืช ในระบบ FAO Framework ได้ก าหนดไว้

                   ทั้งหมด 25 ชนิด แต่ที่น ามาพิจารณาเพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินในแต่ละประเภทการใช้ที่ดิน มี

                   จ านวน 8 คุณภาพที่ดิน ประกอบด้วย
                              1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime: T)

                                คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิในฤดูเพาะปลูก เพราะอุณหภูมิมี
                   อิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด การออกดอกของพืชบางชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์แสง

                   ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38