Page 28 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยท่าแค จังหวัดนครราชสีมา
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
1) การรวบรวมและตรวจสอบเอกสาร ทั้งในรูปแบบของแผนที่ แผนที่เชิงเลข และรายงานที่
เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้ในการก าหนดแนวทางการด าเนินงาน
2) การเตรียมข้อมูลดาวเทียมและภาพถ่ายออร์โธสี
(1) ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชตที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยข้อมูลเชิงเลข (digital
data) และข้อมูลเชิงภาพ (analog data) การเตรียมข้อมูลดาวเทียม มีขั้นตอนการด าเนินงานดังนี้
- การแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิต (geometric correction) เนื่องจาก
ข้อมูลดาวเทียมที่ได้รับมา ยังมีความคลาดเคลื่อนเชิงต าแหน่งทางภูมิศาสตร์ จ าเป็นต้องด าเนินการแก้ไข
ต าแหน่งให้ถูกต้อง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ซ้อนทับกับชั้นข้อมูลอื่น ๆ ได้ โดยใช้ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข
ของกรมพัฒนาที่ดิน และแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1 : 50,000 จากกรมแผนที่ทหารเป็นข้อมูลอ้างอิง
- การผลิตภาพจากข้อมูลดาวเทียมไทยโชต ภาพที่ใช้เป็นภาพผสมสีเท็จ (false color)
สามช่วงคลื่น เพื่อให้ภาพชัดเจนและง่ายต่อการวิเคราะห์มากขึ้น ท าการผสมสีดังนี้ ช่วงคลื่นอินฟราเรด
ใกล้ (Near Infrared–NIR) ให้ผ่านตัวกรองแสงสีแดง (red filter) เนื่องจากช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้เป็น
ช่วงคลื่นที่พืชสีเขียวสะท้อนพลังงานมากที่สุด ดังนั้นบริเวณที่มีพืชใบเขียวอยู่ในภาพจะมองเห็นเป็นสีแดง
ชัดเจน ส่วนช่วงคลื่นสีแดงให้ผ่านตัวกรองแสงสีเขียว (green filter) และช่วงคลื่นสีน้ าเงินให้ผ่านตัวกรอง
แสงสีน้ าเงิน (blue filter) หลังจากนั้น ท าการเน้นรายละเอียดของข้อมูลภาพด้วยข้อมูลภาพ
ช่วงคลื่นเดียวหรือภาพขาว-ด า ที่มีรายละเอียดจุดภาพ 2 เมตร ซึ่งเทคนิคนี้หรือที่เรียกว่า Pansharpening
method จะท าให้ข้อมูลภาพสีมีรายละเอียดจุดภาพเพิ่มขึ้น เท่ากับ 2 เมตร
- การผลิตภาพข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 8 OLI จะใช้เทคนิคผสมสีเท็จ (false color
composite) โดยช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ Near Infrared (NIR) (0.85 - 0.88 ไมครอน) ผ่านตัวกรอง
สีแดง ช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้น1 (Short Wave Infrared1: SWIR1) (1.57 - 1.65 ไมครอน) ผ่านตัว
กรองสีเขียว และช่วงคลื่นสีแดง (0.64 - 0.67 ไมครอน) ผ่านตัวกรองสีน้ าเงิน เพื่อใช้ในการจ าแนก
พืชพรรณ
(2) การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินจากข้อมูลดาวเทียม และภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข
โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของข้อมูล คือ ความเข้มของสีและสี (tone/color) ขนาด (size) รูปร่าง
(shape) เนื้อภาพ (texture) รูปแบบ (pattern) ความสูงและเงา (height and shadow) ความเกี่ยวพัน
(association) และการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (temporal change) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้
ที่ดิน โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แล้วจึงน าชั้นข้อมูลที่ได้ท าการวิเคราะห์
ซ้อนทับกับภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข และข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชต เพื่อจัดพิมพ์เป็นแผนที่ส าหรับการ
ส ารวจและตรวจสอบข้อมูลในภาคสนาม
3) การส ารวจข้อมูลในภาคสนาม โดยส ารวจและตรวจสอบรายละเอียดสภาพการใช้ที่ดินใน
พื้นที่จริง พร้อมทั้งแก้ไขรายละเอียดให้มีความถูกต้องตรงกับสภาพปัจจุบัน