Page 105 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 105

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             77






                         มีเนื้อที่ประมาณ 45,886 ไร่ หรือร้อยละ 54.05 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่ในเขตนี้อยู่นอกเขตที่มีการ

                   ประกาศเป็นเขตป่าไม้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ท ากินมีการออกเอกสารสิทธิ์ (โฉนด สปก.) และจากการ
                   พิจารณาสามารถแบ่งพื้นที่ตามความเหมาะสมของที่ดินและศักยภาพของพื้นที่ได้เป็น 7 เขตย่อย ดังนี้




                               มีเนื้อที่ประมาณ 59 ไร่ หรือร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้มีการใช้ประโยชน์

                   ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ในสภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ มีข้อเสนอแนะใน

                   การใช้พื้นที่เขตฟื้นฟูสภาพพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการรักษาระบบนิเวศต้นน้ า ดังนี้

                              - ภาครัฐควรก าหนดเป้าหมายในการควบคุมการใช้พื้นที่ในเขตดังกล่าวรวมถึงรณรงค์ให้มี
                   การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกป่าหรือระบบวนเกษตร และส่งเสริมมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่

                   เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

                              - ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยและสารปราบศัตรูพืชที่เป็นชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจาก
                   สารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน้ า และจะส่งผลต่อระบบนิเวศของพื้นที่ปลายน้ า




                                               มีเนื้อที่ประมาณ 795 ไร่ หรือร้อยละ 0.94  ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้มี

                   การใช้ที่ดินเพื่อการปลูกไม้ผล ปาล์มน้ ามัน และยางพารา ในสภาพพื้นที่มีความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ มี
                   ข้อเสนอแนะในการใช้พื้นที่เขตพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องเร่งรัดด าเนินการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า

                   ดังนี้

                              - ในบริเวณพื้นที่มีความลาดชันสูง และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ควรจัดท าระบบอนุรักษ์

                   ดินและน้ า เช่น การปลูกไม้ยืนต้นร่วมกับหญ้าแฝกขวางความลาดเทบนแนวคันดิน ท าอาคารชะลอ

                   ความเร็วน้ าร่วมกับการใช้หญ้าแฝก ฝายชะลอน้ า คันดินเบนน้ า คูรับน้ ารอบขอบเขา เพื่อป้องกันการชะ
                   ล้างพังทลายของดิน และช่วยเก็บความชื้นไว้ในดิน รวมทั้งมีการจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับ

                   สภาพพื้นที่ และบ ารุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดิน
                              - ในกรณีที่เป็นดินดีหรือดินลึก ควรท าเป็นคันดินส าหรับปลูกพืชล้มลุกที่มีมูลค่าทาง

                   เศรษฐกิจสูง หรือถ้ามีการปลูกไม้ยืนต้นควรปลูกพืชคลุมดินร่วมด้วย

                              - ในกรณีที่เป็นดินตื้นไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืชล้มลุก ควรปลูกไม้ยืนต้นขวางความลาดเทของ
                   พื้นที่ และปลูกพืชคลุมดินระหว่างต้นพืช และควรท าคันคูรอบเขาเพื่อระบายน้ า ในกรณีที่ปลูกไม้ยืนต้น

                   และต้องการปลูกพืชแซมระหว่างแถวก่อนไม้ยืนต้นโตนั้นไม่ควรมีการไถพรวน เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชัน

                   สูงท าให้เกิดการสูญเสียหน้าดินได้ง่าย



                                           มีเนื้อที่ประมาณ 14,184 ไร่ หรือร้อยละ 16.71 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขต
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110