Page 104 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำคลองแอ่ง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          76



               ที่ดิน เพื่อการปลูกไม้ผล ปาล์มน้ ามัน และยางพารา และเป็นบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย

               ในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด
                              - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายปานกลาง

               (หน่วยแผนที่ 1232) มีเนื้อที่ 1,685 ไร่ หรือร้อยละ 1.98 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้

               ที่ดิน เพื่อการปลูกไม้ผล ปาล์มน้ ามัน และยางพารา และเป็นบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
               ในระดับปานกลางถึงรุนแรง

                              - เขตพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่มีแนวโน้มของการชะล้างพังทลายต่ า (หน่วย
               แผนที่ 1233) มีเนื้อที่ 739 ไร่ หรือร้อยละ 0.87 ของเนื้อที่ทั้งหมด พื้นที่เขตนี้ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินเพื่อ

               การปลูกไม้ผล ปาล์มน้ ามัน และยางพารา และเป็นบริเวณซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายในระดับ

               น้อยถึงปานกลาง
                              ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่ในเขตฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

                              - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง
               มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เช่น

               เขตอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี ก าหนดให้กรมป่าไม้ส ารวจพื้นที่ที่มีการ

               ครอบครองให้ชัดเจน
                              - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เรื่อง

               แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

               อย่างมีระบบโดยให้มีการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และสงวนรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรป่าไม้ที่
               เหลืออยู่รวมถึงฟื้นฟูป่าที่เสื่อมสภาพ โดยต้องอยู่บนหลักในการลดปัญหาความขัดแย้งของการใช้

               ทรัพยากรในพื้นที่
                              - ควรเพิ่มมาตรการในการอนุรักษ์ที่เข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง เพื่อคงสภาพป่าไม้ให้มีความ

               สมบูรณ์ โดยการพัฒนาด้านต่างๆ ต้องค านึงถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศและผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ า

               ด้านล่าง โดยเฉพาะแนวทางจัดการให้พื้นที่ป่าไม้เป็นตัวควบคุมปริมาณน้ าในลุ่มน้ าในเวลาที่เหมาะสม เช่น
               การสร้างฝายชะลอน้ าในบริเวณที่เหมาะสม

                              - ควรเร่งปลูกป่าทดแทนและฟื้นฟูสภาพป่าเพื่อรักษาระบบนิเวศลุ่มน้ าบริเวณพื้นที่ที่มี
               ความลาดชันสูง และพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย โดยเพิ่มมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม

               เช่น การปลูกหญ้าแฝกและสร้างฝายชะลอน้ า เป็นต้น

                              - ควรส่งเสริมและรณรงค์ให้ราษฎรในพื้นที่เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้และมีส่วน
               ร่วมในการดูแลและบ ารุงรักษาผืนป่าในพื้นที่ร่วมกัน
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109