Page 87 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        77








                                          ภาคกลางมีเนื้อที่ทั้งหมด 12,691,785 ไร่ หรือร้อยละ 3.96  ของเนื้อที่ทั้งประเทศ
                   ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี
                   สิงห์บุรี และอ่างทอง   สภาพภูมิประเทศของภาคกลางมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ตอนบนเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ า
                   และที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ) ส่วนตอนล่างเป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดิน
                   ดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ าเจ้าพระยา ด้วยลักษณะดังกล่าวท าให้อัตราการสูญเสียดินของภาคกลางน้อยกว่าภาคอื่นๆ
                                         การเกิดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่นี้ ส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบของการปลูกพืช
                   ที่เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ต้องใช้เครื่องมือในการเตรียมดิน การไถพรวนดิน

                   ท าให้โครงสร้างดินถูกท าลายดินแตกกระจายซึ่งง่ายต่อการถูกพัดพาไปกับน้ า  ประกอบกับไม่มีการป้องกันที่ดี
                   ไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ า พื้นดินขาดสิ่งปกคลุม ผิวหน้าดินได้รับการปะทะกับฝนและลมโดยตรง ท าให้เกิดการ
                   พัดพาไปได้ง่ายและมากขึ้น นอกจากนั้นการขยายตัวและการหดตัวของอนุภาคดินเหนียวเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของ
                   การถูกพัดพาไปกับน้ า
                                           จากการประเมินการสูญเสียดินในพื้นที่ภาคกลาง พบว่า ภาพรวมของระดับความรุนแรง
                   ของการสูญเสียดินส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 88.42 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค
                   (ตารางที่ 3.7) รองลงมา เป็นระดับปานกลาง (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) ร้อยละ 9.75 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค ซึ่ง
                   กระจายทั่วทุกพื้นที่ของภาคกลาง  และพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินมากกว่า 2  ตันต่อไร่ต่อปี  โดยมีเนื้อที่รวม
                   ประมาณ 1,470,307 ไร่ หรือร้อยละ 11.58 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค  พบมากในพื้นที่มีความลาดชันสูง

                   ของจังหวัดสระบุรี  ลพบุรี และชัยนาท ดังแสดงในภาพที่ 3.4

                   ตารางที่ 3.7 เนื้อที่การสูญเสียดินในภาคกลาง

                    ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน        ปริมาณการสูญเสียดิน             เนื้อที่
                                                               (ตันต่อไร่)           ไร่        ร้อยละ

                    การสูญเสียดินน้อย                           0 - 2             11,221,478        88.42
                    การสูญเสียดินปานกลาง                        2 - 5              1,237,840         9.75
                    การสูญเสียดินรุนแรง                         5 - 15               168,934         1.33
                    การสูญเสียดินรุนแรงมาก                     15 - 20                12,867         0.10
                    การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด                > 20                  50,666         0.40

                                             เนื้อที่รวม                          12,691,785      100.00

                          เมื่อพิจารณาปริมาณการสูญเสียดินตามสภาพพื้นที่ (ตารางที่ 3.8) พื้นที่ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 ของ
                   เนื้อที่ทั้งหมดของภาค  เป็นพื้นที่ราบ ส่วนพื้นที่สูงที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเพียงร้อยละ 7.75  จึงท า
                   ให้มีสัดส่วนปริมาณการสูญเสียดินน้อย  และมีพื้นที่ของความรุนแรงของการสูญเสียดินสูงสุดในระดับน้อย (0-2 ตันต่อ
                   ไร่) เพียงร้อยละ 4.25 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค   ในขณะที่พื้นที่ราบมีความรุนแรงการสูญเสียดินสูงสุดที่ระดับน้อย

                   เช่นเดียวกัน แต่มีสัดส่วนสูงกว่ามากถึงร้อยละ 84.16 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค รองลงมาเป็นระดับปานกลาง
                   และระดับรุนแรง ส่วนที่ระดับรุนแรงมาก และระดับรุนแรงมากที่สุดพบในสัดส่วนต่ าใกล้เคียงกันกับในพื้นที่สูง
                   ส่วนใหญ่พบในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และชัยนาท ดังแสดงในภาพที่ 3.4
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92