Page 79 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        69








                            การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่แต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เนื่องมาจากความแปรปรวนของ
                   ธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ ท าให้เกิดความรุนแรงของระดับการสูญเสียของดินที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร
                   และสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน



                                     ภาคเหนือ มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 106,027,680 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 33.06 ของเนื้อที่
                   ทั้งประเทศ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด คือ ก าแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร

                   พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ล าปาง ล าพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และพะเยา สภาพภูมิประเทศ
                   ของภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความลาดชันสูงและเป็นภูเขาสูงที่เอื้อต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน
                   จากจ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น  ในขณะที่เกษตรกรขาดที่ดินท ากิน ประกอบกับสภาวะทางเศรษฐกิจสังคม
                   เกษตรกรจึงมีความต้องการเพิ่มพื้นที่ท าการเกษตรเพื่อยังชีพและค้าขายเพื่อเพิ่มรายได้  ท าให้บางพื้นที่มีการ
                   รุกล้ าพื้นที่ป่าและลักลอบตัดไม้ท าลายป่าเพื่อท าการเกษตร  โดยมีการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม เช่น การใช้พื้นที่ที่
                   มีความลาดชันสูงส าหรับปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชผัก  และขาด
                   มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และปรับปรุงบ ารุงดินอย่างเหมาะสมและถูกวิธี
                                 จากการประเมินการสูญเสียดินในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ในระดับน้อย
                   (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) หรือคิดเป็นร้อยละ 71.48 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค    รองลงมา คือ ระดับปานกลาง
                   (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) ส่วนระดับรุนแรงและรุนแรงมากที่สุดมีเนื้อที่ใกล้เคียงกัน และจะเห็นว่า การสูญเสียดิน

                   มากกว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่รวม 30,244,419 ไร่ หรือร้อยละ 28.52 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค (ตารางที่ 3.3
                   และภาพที่ 3.2) พบในพื้นที่ตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ น่าน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะ
                   จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่การสูญเสียดินมากที่สุด
                                 เมื่อพิจารณาระดับการสูญเสียดินตามสภาพพื้นที่ราบและพื้นที่สูง (ตารางที่ 3.4) ซึ่งมีเนื้อที่
                   คิดเป็นสัดส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดของภาคเท่ากับร้อยละ 44.44 และ 55.56 ตามล าดับ  โดยทั้งสองพื้นที่มีสัดส่วน
                   เนื้อที่ของการสูญเสียดินสูงสุดที่ระดับความรุนแรงในระดับน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และมีเนื้อที่ใกล้เคียงกัน
                   เช่นเดียวกับการสูญเสียดินระดับรุนแรง (5-15 ตันต่อไรต่อปี) แต่จะเห็นว่า การสูญเสียดินที่ระดับปานกลาง (2-5

                   ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี)  และรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) ในพื้นที่สูงมี
                   สัดส่วนของเนื้อที่การสูญเสียดินสูงกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ราบ  โดยในพื้นที่ราบจังหวัดก าแพงเพชร มีพื้นที่ที่มี
                   การสูญเสียดินมากกว่า 2 ตันต่อไร่ต่อปี สูงสุด รองลงมาคือ จังหวัดพิษณุโลกและอุทัยธานี ตามล าดับ ส่วนใน
                   พื้นที่สูง พบว่า จังหวัดน่านมีพื้นที่การสูญเสียดินสูงสุด รองลงมา คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงราย
                                 จะเห็นได้ว่า ในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ไม่มีพืชปกคลุมหรือเขาหัวโล้น ยิ่งส่งผล
                   ท าให้เกิดการชะล้างและไหลบ่าของหน้าดินจ านวนมาก สภาพพื้นที่เป็นร่องลึกโดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชัน
                   สูง และในช่วงเวลาฝนตกชุก ดินอุ้มน้ ามากจนเกินไปท าให้มีการชะล้างพังทลายรุนแรงมากจนเกิด “ดินถล่ม”
                   ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในวงกว้าง ระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม  ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง  สูญเสียหน้าดิน
                   และธาตุอาหาร ดินเกิดการไหลบ่าจากพื้นที่สูงลงสู่พื้นที่ต่ า เกิดเป็นตะกอนดินทับถมซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับ
                   บ้านเรือนประชาชน   พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายโดยเฉพาะช่วงต้นฤดูเพาะปลูก  อีกทั้ง เกิดสภาพตื้นเขิน

                   และตะกอนขุ่น เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ า ห้วย ล าน้ า แม่น้ าสายหลัก กระจายไปทั่วพื้นที่ลุ่มน้ า
                   และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน  สภาพเศรษฐกิจและสังคม  ท าลายชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความ
                   สิ้นเปลืองและมีค่าใช้จ่ายสูงในการฟื้นฟูให้กลับคืนดังเดิม  ซึ่งเหตุการณ์ดินถล่มในภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด
                   ในช่วงฤดูฝน ปัญหาดินโคลนถล่ม น้ าป่าไหลหลาก น้ าท่วมฉับพลัน เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84