Page 26 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        16



                          1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ
                              การเปรียบเทียบปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนและหลังการทดลองทั้ง 3 ปี พบว่า ปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดิน ก่อนการทดลองของวิธีการที่ 1 2 3 4 และ 5 มีปริมาณสูง คือ 2.76 2.59 2.70 2.60

                   และ 2.83 ตามลําดับ และปริมาณอินทรียวัตถุในดินหลังจากการทดลอง 3 ปี พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุใน
                   ดินหลังการทดลองมีปริมาณสูงขึ้นทุกวิธีการทดลอง คือ 3.70 3.70 3.75 3.80 และ 4.00 ตามลําดับ โดย
                   วิธีการทดลองที่ 5 มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุด (ตารางที่ 6)


                   ตารางที่ 6 ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM)

                                     ก่อนการทดลอง                 หลังการทดลอง (เปอร์เซ็นต์)
                       วิธีการที่
                                       (เปอร์เซ็นต์)      ปีที่ 1          ปีที่ 2          ปีที่ 3
                         T1               2.76             4.00             3.75             3.70

                         T2               2.59             3.00             3.89             3.70
                         T3               2.70             3.27             4.03             3.75
                         T4               2.60             3.14             4.88             3.80

                         T5               2.83             3.34             4.16             4.00

                   หมายเหตุ:   T1 คือ วิธีเกษตรกร
                              T2 คือ วิธีเกษตรกรร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T3 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T4 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมการใช้ปุ๋ยรายแปลงตามร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                              T5 คือ วิธีคําแนะนําจากห้องปฏิบัติการร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                          1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน
                              การเปรียบเทียบปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนและหลังการทดลองทั้ง 3 ปี

                   พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนการดลองของวิธีการทดลองที่ 1 2 3 4  และ 5  มี
                   ปริมาณต่ํามาก คือ 1  1.5  1  1 และ 1 ตามลําดับ  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินหลังจากการ
                   ทดลอง 3  ปี พบว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินหลังการทดลองมีปริมาณสูงขึ้นอยู่ในระดับต่ํา
                   ถึงปานกลางทุกวิธีการทดลอง คือ 15  10  15  10 และ 2 ตามลําดับ  โดยวิธีการทดลองที่ 1 และ 3 มี

                   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินหลังการทดลองสูงที่สุด (ตารางที่ 7)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31