Page 25 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        15



                                                  ผลการทดลองและวิจารณ์


                          การจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 พื้นที่จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนําร่อง
                   การผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
                   โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโตของต้นมันสําปะหลัง และผลผลิตมัน
                   สําปะหลัง รวมถึงผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ มีผลการทดลองและวิจารณ์ ดังนี้


                   1. เปรียบเทียบสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง

                          1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
                              การเปรียบเทียบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนและหลังการทดลองทั้ง 3 ปีการทดลอง
                   พบว่า วิธีการทดลองที่ 1  ความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนการทดลอง เท่ากับ 7.65 คือมีความเป็นด่าง

                   เล็กน้อย และเมื่อดําเนินการทดลองผ่านไป 3 ปี พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลง คือ 6.60 มี
                   ความเป็นกลาง  และในวิธีการทดลองที่ 2  3  4  และ 5 พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนการ
                   ทดลองมีความเป็นด่างเล็กน้อย เท่ากับ 7.60 7.65 7.68 และ 7.60 ตามลําดับ และเมื่อดําเนินการทดลอง

                   ผ่านไป 3  ปี พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกลาง คือเท่ากับ 6.70  6.80 6.70 และ 6.50
                   ตามลําดับ จากการทดลองจะสังเกตได้ว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินของดินลดลง คือจากมีค่าความ
                   เป็นด่างเล็กน้อย เป็นมีค่าความเป็นกลาง เนื่องจากมีการจัดการแปลงหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมัน
                   สําปะหลังจะมีการไถกลบเศษวัสดุเหลือ เพื่อให้เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน ซึ่งทําให้ค่าความเป็นกรด

                   เป็นด่างของดินเป็นลดลงได้ ในการทดลองปีที่ 2 และ 3 (ตารางที่ 5)


                   ตารางที่ 5 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)

                                                                       หลังการทดลอง
                       วิธีการที่    ก่อนการทดลอง
                                                          ปีที่ 1          ปีที่ 2          ปีที่ 3

                         T1               7.65             7.60             6.50             6.60
                         T2               7.60             7.10             6.50             6.70
                         T3               7.65             7.60             6.60             6.80

                         T4               7.68             7.70             6.60             6.70
                         T5               7.60             7.60             6.70             6.50

                   หมายเหตุ:   T1 คือ วิธีเกษตรกร
                              T2 คือ วิธีเกษตรกรร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                              T3 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T4 คือ วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยตามโปรแกรมการใช้ปุ๋ยรายแปลงร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
                              T5 คือ วิธีคําแนะนําจากห้องปฏิบัติการร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30