Page 14 - การศึกษาธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ผลิตจากกากตะกอนน้ำเสีย เทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                                                                         7



                          ในปี พ.ศ. 2540 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ก าหนดให้ท้องที่เขตจังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่
                   คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเขตควบคุมมลพิษ โดยเห็นชอบในแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
                   สิ่งแวดล้อมและเขตควบคุมมลพิษจังหวัดภูเก็ต
                          ในปี พ.ศ. 2542 เทศบาลเมืองป่าตองด าเนินการก่อสร้างระบบระบายน้ า    ระบบรวบรวมน้ าเสีย

                   และระบบบ าบัดน้ าเสียเพิ่มเติม โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ ครอบคลุมพื้นที่ 14.1 ตารางกิโลเมตร
                   ประกอบด้วยอาคารดักน้ าเสีย (Combine Sewer Overflows: CSO) อาคารดักน้ าเสียและสถานีสูบน้ า
                   เสีย (Combine Sewer Overflows and Pump Station: CSO&PS) ท่อรวบรวมน้ าเสียขนาดต่างๆ โรง
                   ปรับปรุงคุณภาพน้ าและระบบบ าบัดน้ าเสียแบบตะกอนเร่ง ชนิด Single –Stage Nitrification สามารถ

                   รองรับน้ าเสียเพิ่มเติมได้ 18,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปัจจุบันโรงปรับปรุงคุณภาพน้ า เทศบาลเมืองป่า
                   ตอง สามารถรองรับน้ าเสียได้รวม 23,250 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน   และบีโอดีน้ าเข้าไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อ
                   ลิตร
                          ในปี พ.ศ. 2560 เทศบาลเมืองป่าตองด าเนินการสร้างระบบบ าบัดน้ าเสียระยะที่ 4 เพิ่มเติม เป็น

                   ระบบบ าบัดน้ าเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) ชนิด Single –Stage Nitrification ก่อสร้างแล้ว
                   เสร็จจะสามารถรองรับน้ าเสียเพิ่มเติมได้ 9,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ภาพที่ 2 และ 3)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19